2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินพันธุกรรมของลักษณะผลผลิตน้ำนมและสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนในน้ำนมต่อความเครียดเนื่องจากความร้อนในโคนมลูกผสมไทยโฮลสไตน์ภายใต้สภาพภูมิอากาศของประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 กันยายน 2559 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 2560 
     ฉบับที่ 45 
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า 47-56 
     บทคัดย่อ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นส่งผลให้โคนมเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อนได้ง่าย นอกจากนั้นในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยยังมีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน จึงส่งผลให้การแสดงออกทางพันธุกรรมของสัตว์แต่ละตัวมีความแตกต่างกันด้วย ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จึงเพื่อศึกษาปฏิกิริยาร่วมระหว่างพันธุกรรมของลักษณะผลผลิตน้ำนมและสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนในน้ำนมกับสภาพแวดล้อม (GxE interaction) และเพื่อประเมินพันธุกรรมโคนมเพื่อคัดเลือกเป็นพ่อแม่พันธุ์ชั้นเลิศในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลผลผลิตน้ำนมและสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนในน้ำนมในวันทดสอบของโคนมลูกผสมไทยโฮลสไตน์ที่ให้น้ำนมในระยะแรกจำนวน 119,073 บันทึก จากโคนมทั้งหมด 15,023 ตัว โดยแบ่งชุดข้อมูลเป็น 6 ชุด มีจำนวนบันทึก ค่าเฉลี่ยผลผลิตน้ำนมและสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนในน้ำนม ดังนี้ 1) ทุกภูมิภาค 119,073 บันทึก 12.41 กิโลกรัม และ 1.16 2) ภาคกลาง 33,295 บันทึก 12.12 กิโลกรัม และ 1.22 3) ภาคเหนือ 22,227 บันทึก 13.11 กิโลกรัม และ 1.13 4) ภาคตะวันออก 18,114 บันทึก 11.03 กิโลกรัม และ 1.20 และ 5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30,325 บันทึก 13.16 กิโลกรัม และ 1.09 ตามลำดับ ใช้โมเดลวันทดสอบที่มีการวัดซ้ำหลายลักษณะ (multiple-trait repeatability model) ร่วมกับการใช้ฟังก์ชันดัชนีอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ (THI function) พบค่าอัตราพันธุกรรรม (h2) จากที่จุดวิกฤตของความเครียดที่ THI 75 ของลักษณะผลผลิตน้ำนมและสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนในน้ำนม ดังนี้ 1) ทุกภูมิภาค 0.16 และ 0.03 2) ภาคกลาง 0.17 และ 0.02 3) ภาคเหนือ 0.19 และ 0.03 4) ภาคตะวันออก 0.16 และ 0.05 5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.13 และ 0.06 ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้พบว่า GxE interaction ซึ่งพิจารณาจากค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม (rg) ระหว่างลักษณะผลผลิตน้ำนมและสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนในน้ำนมต่ออิทธิพลความเครียดเนื่องจากความร้อนที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคมีสหสัมพันธ์เชิงลบดังนี้ 1) ทุกภูมิภาค -0.06 และ -0.55 2) ภาคกลาง -0.07 และ -0.60 3) ภาคเหนือ -0.39 และ -0.63 4) ภาคตะวันออก -0.003 และ -0.80 5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ -0.24 และ -0.22 ตามลำดับ นอกจากนี้การศึกษานี้ทำให้ทราบพ่อแม่พันธุ์ที่มีพันธุกรรมของลักษณะผลผลิตน้ำนมและสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนที่ดีที่สุดของแต่ละภูมิภาค เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุกรรมโคนมลูกผสมไทยโฮลสไตน์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต 
     คำสำคัญ ปฏิกิริยาร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อม, ความเครียดเนื่องจากความร้อน, โคนม 
ผู้เขียน
575030088-9 นาย วัชรพงษ์ เตียวยืนยง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum