ชื่อบทความ |
การเปรียบเทียบการกาจัดสารปฏิชีวนะไตรโคลคาร์บานด้วย Pseudomonas fluorescens MC46 และ Ochrobactrum sp. MC22 ดักติด |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
21 ธันวาคม 2561 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
UBU Engineering Journal |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยอุบลราชธานี |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
|
ฉบับที่ |
|
เดือน |
|
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2561 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกาจัดสารปฏิชีวนะไตรโคลคาร์บาน (Triclocarban; TCC) ด้วย Pseudomonas fluorescens MC46 และ Ochrobactrum sp. MC22 การศึกษานี้ทดลองเปรียบเทียบการกาจัดสารด้วยจุลินทรีย์ ในรูปเซลล์อิสระและดักติด การทดลองนี้เลือกใช้ สารแบเรียมแอลจิเนตเป็นวัสดุดักติด การทดลองประกอบด้วยการกาจัดสาร TCC และการติดตาม สารมัธยันต์ (Intermediate product) และการศึกษาโครงสร้างของเซลล์ดักติดด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษาพบว่าเซลล์ดักติดมีประสิทธิภาพการกาจัด TCC สูงกว่าเซลล์อิสระ (ประสิทธิภาพสูงสุดร้อยละ 53 และ 38 ตามลาดับ) โดย MC46 ดักติดมีประสิทธิภาพสูงกว่า MC22 เล็กน้อย จากผลการติดตามสารมัธยันต์พบว่า เกิดสาร 3,4-ไดคลอโร อะนิลีน 4-คลอโรอะนิลีน และอะนิลีน จุลินทรีย์ทั้งคู่สามารถย่อยสลาย TCC และสารมัธยันต์ทั้งสามได้เป็นอย่างดี สาร TCC ถูกเปลี่ยนเป็นสารที่มีความเป็นพิษลดลง สาหรับผลการศึกษาลักษณะโครงสร้างระดับจุลภาคพบว่า วัสดุดักติดแบเรียมแอลจิเนตมีโครงสร้างเป็นโครงตาข่ายแน่นและมีจุลินทรีย์เกาะตามวัสดุ หลังจากใช้งานมีจุลินทรีย์เจริญเติบโตเป็นจานวนมากในวัสดุ จากผลการศึกษาสามารถกล่าวได้ว่าวัสดุดักติดสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสาหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และช่วยปกป้องจุลินทรีย์จากสารพิษส่งผลให้เซลล์ดักติดมีประสิทธิภาพการกาจัด TCC สูง |
คำสำคัญ |
การดักติดเซลล์ ไตรโคลคาร์บาน แบเรียมแอลจิเนต สารมัธยันต์ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|