ชื่อบทความ |
การวิเคราะห์ข้อมูลพลังงานลมในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
27 มิถุนายน 2560 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วิศวสารลาดกระบัง |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
34 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2560 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงศักยภาพพลังงานลมเฉพาะพื้นที่ในบริเวณสถานีวัดความเร็วลมภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตจังหวัดหนองคาย โดยเสาวัดลมที่มีความสูง 120 เมตรจากระดับพื้นดิน จากนั้นทำการติดตั้งอุปกรณ์วัดความเร็วและทิศทางของลมที่ระดับความสูง 60, 90 และ 120 เมตรและยังมีการติดตั้งอุปกรณ์วัดความชื้น ความดัน และอุณหภูมิที่เสาวัดลมอีกด้วย ข้อมูลลมทุกๆ 10 นาทีจะถูกบันทึกที่กล่องบันทึกข้อมูล (Data Logger) เป็นเวลาติดต่อกัน 4 ปี คือ เริ่มตั้งแต่ เดือนมกราคม 2012 ถึง เดือนธันวาคม 2015 ข้อมูลลมที่ได้จะนำมาวิเคราะห์ในเชิงสถิติเป็น รายปี รายเดือน และรายวัน โดยใช้การกระจายตัวแบบไวบูลล์ (Weibull Distribution Function) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับความสูง 60, 90 และ 120 เมตรเหนือพื้นดิน คือ 2.84, 3.41 และ 3.96 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ ทิศทางลมส่วนใหญ่พัดมาจากทางทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเวลากลางคืนความเร็วลมจะสูงกว่าในช่วงของเวลากลางวัน shape และ scale parameter เฉลี่ยที่ตำแหน่งนี้มีค่าอยู่ในช่วง 1.67 ถึง 1.82 และ 3.19 ถึง 4.43 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ กำลังลม (Power Density, 2Wm) มีค่าตั้งแต่ 36, 55 และ 98 วัตต์ต่อตารางเมตรที่ความสูง 60, 90 และ 120 เมตรตามลำดับ ข้อมูลลมที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความเร็วที่ค่อนข้างตํ่า ไม่เหมาะสมกับการติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ แต่อาจจะนำไปประยุกต์ควบคู่กับการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในด้านการเกษตร เช่น การทำกังหันลมขนาดเล็กเพื่อการสูบนํ้า เป็นต้น |
คำสำคัญ |
พลังงานลม, จังหวัดหนองคาย, ไวบูลล์ฟังก์ชั่น |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|