ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับ Google Classroom รายวิชา ส 31104 ประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
4 มีนาคม 2562 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การ ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ หลักสูตรและการสอนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 “หลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่หลากหลาย ในศตวรรษที่ 21 ” |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
สถานที่จัดประชุม |
ห้องสีมาแกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี |
จังหวัด/รัฐ |
จังหวัดนครราชสีมา |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
4 มีนาคม 2562 |
ถึง |
4 มีนาคม 2562 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2562 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
NICCI010 1-11 |
Editors/edition/publisher |
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับ Google Classroom รายวิชา ส31104 ประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับ Google Classroom รายวิชา ส31104 ประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 23 คน โดยการสุ่มด้วยวิธี Cluster Random Sampling การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One - Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 10 แผน 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับ Google Classroom รายวิชา ส31104 ประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับ Google Classroom รายวิชา ส31104 ประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ; วิธีการทางประวัติศาสตร์, Google Classroom, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
นานาชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|