2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ในจังหวัดเลย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 เมษายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 26 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ และระยะเวลาของความล่าช้าที่เกิดจากตัวผู้ป่วยในจังหวัดเลย โดยกลุ่มตัวอย่างได้จาการวินิจฉัยและขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคในโรงพยาบาลรัฐ 14 แห่งในเขตจังหวัดเลย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560–31 ธันวาคม 2560 มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียนและใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด วิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวด้วยสถิติวิเคราะห์ Chi-square test โดยใช้สถิติทดสอบ Simple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์โดยใช้ Crude odds ratio (OR) พร้อมช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับ 95%CI วิเคราะห์ตัวแปรแบบพหุ โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression analysis และนำเสนอค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และ 95% CI ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรควัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จำนวน 259 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐทั้ง 14 แห่ง ในจังหวัดเลย อัตราความชุกของโรควัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ (Prevalence rate) ปี พ.ศ.2560 เท่ากับ 40.4 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.6 อายุ 51–70 ปี ร้อยละ 43.2 ส่วนใหญ่ว่างงาน ร้อยละ 44 สัดส่วนการมารับการรักษาล่าช้าของผู้ป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปร้อยละ 50.2 (130/259) โดยมีค่าเฉลี่ย 38.85 วัน สัดส่วนระยะเวลาความล่าช้าจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐตั้งแต่ 7 วันขึ้นไปร้อยละ 11.58 (30/259)มีค่าเฉลี่ย 5.29 วัน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ตัวแปรเชิงเดี่ยว (Univariate analysis) พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาโรควัณโรคปอด ได้แก่ เขตที่พักอาศัยนอกเขตเทศบาล (OR=1.57;95%CI=1.05-2.82;p-value=0.03) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน≤5,000 บาท (OR=2.22;95%CI=1.19–4.12; p-value=0.01) ระยะทางจากบ้านถึงโรงพยาบาลมากกว่า 10 กิโลเมตร (OR=2.15;95%CI=1.29-3.59; p-value=0.003) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรแบบพหุถดถอยลอจิสติก พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาล่าช้าในผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ เพศชาย (ORadj=2.06; 95%CI=1.13-3.75) รายได้เฉลี่ย≤5,000 บาท (ORadj=0.34; 95%CI=0.17-0.65) ระยะเวลาที่สูบบุหรี่≥10 ปี (ORadj=0.40; 95%CI=0.22–0.75) ระยะทางจากบ้านถึงโรงพยาบาล≥10 กิโลเมตร (ORadj=2.16; 95%CI=1.26–3.68) จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความล่าช้านั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ผู้ป่วยขาดความตระหนักในการเจ็บป่วยของตน ความไม่สะดวกในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ ความมีการพัฒนาระบบสาธารณสุขของรัฐให้ได้มาตรฐานให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่ถูกต้องลดโอกาสในการมารับบริการล่าช้าฉะนั้นควรมีการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคโดยดำเนินงานเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ป่วยในชุมชน 
     คำสำคัญ วัณโรคปอด, ความล่าช้า, ความชุก 
ผู้เขียน
595110054-3 น.ส. ปัญจรัตน์ คำมา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum