2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความสัมพันธ์ของดัชนีอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ต่อจำนวนวันท้องว่างในโคนมลูกผสมไทย-โฮลสไตน์ภายใต้สภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยวารสารแก่นเกษตร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 กรกฎาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 45 
     ฉบับที่
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า 425-432 
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ของดัชนีอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ต่อจำนวนวันท้องว่าง ของโคนมลูกผสมไทย-โฮลสไตน์ ภายใต้สภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลการคลอดลูกครั้งแรกและครั้งที่สองของโคนมลูกผสมไทย-โฮลสไตน์ จำนวน 15,194 บันทึก จากโคนมลูกผสมไทยโฮลสไตน์ จำนวน 7,597 ตัว นำมาคำนวณวันท้องว่างเฉพาะโคนมที่ให้นมครั้งแรก และ ข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ บันทึกโดยสถานีอุตุนิยมวิทยาในแต่ละจังหวัด ที่อยู่ใกล้เคียงกับฟาร์มโคนมแต่ละฟาร์ม ดัชนีอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ คำนวณจากค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกระเปาะแห้งและความชื้นสัมพัทธ์ ผลการศึกษาพบว่า วันท้องว่างของโคนมลูกผสมไทย-โฮลสไตน์ มีค่าเฉลี่ย 152 วัน ค่าสูงสุดของ THI อยู่ในช่วงเดือนเมษายน (81) และมีแนวโน้มลดลงมาจนถึงเดือนตุลาคม (78) และลดลงอย่างมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ (74) ค่า THI เฉลี่ยตั้งแต่วันคลอดจนถึงวันผสมติด มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับจำนวนวันท้องว่าง (P<0.001) และจำนวนวันท้องว่างเพิ่มมากกว่าเป้าหมาย (100-110 วัน) เมื่อค่าเฉลี่ยTHI สูงกว่า 77.0 ดังนั้นการจัดการฟาร์มและระบบสืบพันธุ์โดยคำนึงถึงดัชนีอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงคลอดถึงผสมครั้งแรกจะช่วยเพิ่มโอกาสผสมติดและช่วยลดจำนวนวันท้องว่างในฟาร์มลงได้ 
     คำสำคัญ วันท้องว่าง, โคนม, ดัชนีอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ 
ผู้เขียน
595030051-4 นาย ธนวัต โชคเจริญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum