2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การศึกษาความสัมพันธ์ของ hormion และมุมของฐานกะโหลกในการจำแนกเพศของประชากรคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ The relationship of hormion and angle of the cranial base for estimating sex in northeast Thais 
Date of Distribution 31 May 2019 
Conference
     Title of the Conference ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 "การวิจัยเพื่อการพัฒนาการที่ยั่งยืน" 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชธานี 
     Conference Place มหาวิทยาลัยราชธานี 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 31 May 2019 
     To 31 May 2019 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 515-523 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษาทางด้านมานุษยวิทยามีความจำเป็นอย่างยิ่งในคดีที่มีผู้เสียชีวิตเป็นระยะเวลานานและเหลือเพียงโครงกระดูกเท่านั้น การระบุว่าโครงกระดูกที่พบเป็นเพศหญิง หรือเพศชาย มีช่วงอายุใด มีเชื้อชาติอะไร สามารถเป็นหลักฐานสนับสนุนงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการสืบสวน สอบสวนต่อไป การระบุบุคคลจากกะโหลกศีรษะเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เนื่องจากสามารถบอกถึงอายุและเพศของผู้เสียชีวิตได้ การศึกษาทางด้านสัณฐานวิทยาของมนุษย์ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษากะโหลกศีรษะในส่วนบริเวณ hormion การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ของ hormion และมุมของฐานกะโหลกในการจำแนกเพศของประชากรคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กะโหลกศีรษะ 329 กะโหลก (เพศชาย 165 กะโหลก และเพศหญิง 164 กะโหลก) ด้วยการวัดค่าตัวแปรบนกะโหลกศีรษะ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ hormion (ho) –bregma (b), basion (ba) – bregma (b) และ basion (ba) – hormion (ho) และหาพื้นที่สามเหลี่ยมภายในกะโหลกศีรษะจากการวัดตำแหน่งดังกล่าว เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกะโหลกศีรษะเพศชายและเพศหญิงด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ โดยผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าค่าตัวแปรที่มุมของกะโหลกศีรษะส่วน bregma และส่วน hormion ของเพศชายมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value เท่ากับ 0.021 และ 0.000 ตามลำดับ ค่าตัวแปรมุมของกะโหลกศีรษะส่วน basion และพื้นที่สามเหลี่ยมภายในกะโหลกศีรษะของเพศชายมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value เท่ากับ 0.000 ความสัมพันธ์ของกระดูกบริเวณ hormion และมุมของฐานกะโหลกศีรษะ สามารถนำมาใช้ในการจำแนกเพศของประชากรคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้  
Author
595020001-5 Miss JIRAPORN PITATHASUNG [Main Author]
Science Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum