2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ระดับการตัดหญ้าพืชอาหารสัตว์ต่อปริมาณผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีในช่วงฤดูหนาวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 มิถุนายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติครั้งที่8 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอน สปา ภูเก็ต  
     จังหวัด/รัฐ ภูเก็ต 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 มิถุนายน 2562 
     ถึง 15 มิถุนายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 47 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ2 
     หน้าที่พิมพ์ 82 
     Editors/edition/publisher รศ.ดร. ปิ่น จันจุฬา 
     บทคัดย่อ ระดับการตัดหญ้าพืชอาหารสัตว์ต่อปริมาณผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีในช่วงฤดูหนาวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย Cutting level of forage grasses on yielding and chemical composition during winter season in the Northeast of Thailand กานต์สิรีเกศ เลิศสรรสิริ1 ธีรชัย หายทุกข์1* และอนุสรณ์ เชิดทอง1 Karnsireeket Lertsansiri1 Theerachai Haitook1* and Anusorn Cherdthong1 บทคัดย่อ: การศึกษาผลการตัดที่ระดับต่างกันของพันธุ์หญ้า 4 ชนิดต่อผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีที่ปลูกระหว่างเดือน กันยายน 2561 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของพันธุ์หญ้า 4 ชนิด ได้แก่ หญ้าหวาน (Pennisetum purpureum cv. Mahasarakham) หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 (Pennisetum purpureum x Pennisetum glaucum ‘Pakchong 1’) หญ้าเนเปียร์แคระ (Pennisetum purpureum cv. Mott) และหญ้ากินนีสีม่วง (Panicum maximum TD58) เมื่อตัดที่ความสูง 3 ระดับ ได้แก่ 10, 15 และ 20 ซม.ที่อายุเท่ากันต่อผลผลิตน้ำหนักสดและแห้ง และองค์ประกอบทางเคมี ได้ดำเนินการทดลองที่แปลงทดลองของหมวดพืชอาหารสัตว์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้แผนการทดลองแบบ 4 x 3 factorial in CRD จำนวน 4 ซ้ำ ระยะห่างระหว่างการปลูก50x50 ซม. ทำการเก็บเกี่ยวหญ้าสดเพื่อประเมินผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมี จากการศึกษาสรุปได้ว่าการปลูกหญ้าในช่วงฤดูหนาว พบว่าหญ้ากินนีสีม่วงให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งสูงสุดที่การตัดระดับ 10 ซม. เมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าหวาน หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 และหญ้าเนเปียร์แคระ และหญ้าทั้ง 4 ชนิดให้ผลผลิตต่ำเมื่อตัดระดับ 15 และ20 ซม. หญ้ากินนีสีม่วงมีการแตกกอดีที่สุดที่การตัดระดับ 20 ซม. และมีค่าโปรตีนหยาบสูงกว่าหญ้าทุกชนิด ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหญ้ากินนีสีม่วงตอบสนองต่อตอบสนองต่อช่วงเวลาของการปลูกได้ดี อย่างไรก็ตามหญ้าพืชอาหารสัตว์ชนิดอื่นๆทั้ง 3 ชนิดก็มีศักยภาพที่ดีสามารถให้ผลผลิตดีถ้ามีการจัดการที่ดีขึ้น การตัดต่ำที่ระดับ 15 ซม. มีแนวโน้มที่ดีในภาพรวมทั้งผลผลิตสิ่งแห้ง การเติบโตหลังการตัด การแตกกอและสารอาหาร คำสำคัญ: หญ้าพืชอาหารสัตว์, การตัดที่ระดับต่างกัน, ผลผลิต, องค์ประกอบทางเคมี Abstract: A study on the effect of cutting heights on yielding and chemical compositions of four forage grass species. An experiment was conducted in experimental plots during November, 2018 to February, 2019 at Faculty of Agriculture, Khon Kean University. Four forage grass species (including Pennisetum purpureum cv. Mahasarakham, Pennisetum purpureum x Pennisetum glaucum ‘Pakchong 1’, Pennisetum purpureum cv. Mott and Panicum maximum TD58) and three levels of cutting heights were 10, 15 and 20 cm at the same age. Planting space was 50x50 cm as between row and plants. Samples were samplings and analyzed for yielding and chemical compositions. The results showed that dried weight of guinea grass (Panicum maximum TD58) exhibited a higher yield in dry matter, buding regrowth, crude protein content than other 3 species at lower cutting (10 cm) However, at higher level of cutting reflect the lower yield but better regrowth and higher crude protein content. This shows that in the winter season, guinnea grass had better respond to the stress environment of the season. However, other 3 types of grass had also better respond to the similar environment but need better management in term of irrigation system, fertilization and proper level of cutting Key words: forage grasses, cutting heights, yields, chemical composition 1Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand 40002 * Corresponding author: Theerachai.anisci@gmail.com  
ผู้เขียน
605030021-4 น.ส. กานต์สิรีเกศ เลิศสรรสิริ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0