2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ คุณลักษณะของครัวเรือนในถิ่นต้นทางของแรงงานย้ายถิ่นอีสานในอุตสาหกรรมประมงทะเล: การศึกษาเชิงคุณภาพ  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 17 พฤศจิกายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2560 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมนักประชากรไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมตวันนา  
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 พฤศจิกายน 2560 
     ถึง 17 พฤศจิกายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 41 
     Editors/edition/publisher สมาคมนักประชากรไทย 
     บทคัดย่อ บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครัวเรือนในถิ่นต้นทางของแรงงานย้ายถิ่นอีสานในอุตสาหกรรมประมงทะเล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาในการอธิบายคุณลักษณะของครัวเรือน การคัดเลือกครัวเรือนใช้เทคนิคการบอกต่อ (snowball technique) ร่วมกับการกำหนดเกณฑ์คัดเข้า (inclusion criteria) กล่าวคือ เป็นครัวเรือนแรงงานประมงย้ายถิ่นที่มีสมาชิกไปทำงานในอุตสาหกรรมประมงทะเลต่อเนื่อง หรือไปๆมาๆ (on and off) ไม่น้อยกว่า 5 ปี การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแนวทางการสัมภาษณ์กับตัวแทนครัวเรือนแรงงานประมงย้ายถิ่นจำนวน 20 ครัวเรือนในพื้นที่ตำบลบะ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมด้วยขณะเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการในเดือนมกราคม 2560 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 และใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะของครัวเรือนในถิ่นต้นทางของแรงงานย้ายถิ่นในอุตสาหกรรมประมงทะเลสามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ครัวเรือนกลุ่มที่หนึ่ง ครัวเรือนที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ครัวเรือนกลุ่มนี้ได้รับเงินส่งกลับจากสมาชิกครัวเรือนของตนที่ไปทำงานประมงทะเลอย่างสม่ำเสมอและสามารถนำเงินดังกล่าวมาใช้ในกิจกรรมของครัวเรือนตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น นำไปใช้ลงทุนซื้อที่ดินเพื่อการเกษตร การสร้างร้านขายของชำในชุมชน และการออมทรัพย์ ครัวเรือนกลุ่มที่ 2 ครัวเรือนลุ่มๆดอนๆ ครัวเรือนกลุ่มนี้ถึงแม้จะได้รับเงินส่งกลับจากสมาชิกครัวเรือนของตน แต่จำนวนเงินที่ได้จะไม่มากและระยะเวลาในการส่งเงินไม่บ่อยครั้งเท่ากับครัวเรือนกลุ่มแรก อีกทั้งเงินที่ส่งกลับมาถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เล่นการพนัน เป็นต้น ส่งผลให้ครัวเรือนไม่สามารถยกระดับสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน ครัวเรือนกลุ่มที่ 3 ครัวเรือนที่ต้องดิ้นรน ครัวเรือนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่พบประสบการณ์ที่ไม่ดีในการย้ายถิ่นเพื่อไปทำประมงทะเล กล่าวคือ สมาชิกครัวเรือนของตนได้รับอันตรายจากการไปทำงานประมงทะเล เช่น บาดเจ็บ สูญหาย หรือเสียชีวิต ทำให้ครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวมีสภาพความเป็นอยู่ที่ต้องดิ้นรนเป็นอย่างมากทั้งการดิ้นรนเพื่อหาเลี้ยงชีพของตนเองและการดิ้นรนเพื่อติดตามสมาชิกครัวเรือนของตนเองที่สูญหายในระหว่างการทำประมงทะเล  
ผู้เขียน
577080041-9 นาย ณัฐพล มีแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0