2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  
Date of Distribution 14 June 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 48 ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 “นวัตกรรมและการสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” 
     Organiser บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     Conference Place ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม  
     Province/State นครปฐม 
     Conference Date 13 June 2019 
     To 14 June 2019 
Proceeding Paper
     Volume 48 
     Issue 48 
     Page H528-H536 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบโดยประยุกต์ใช้โมเดลดีไอเอ็นเอ แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสร้างแบบทดสอบ ด้วยการกำหนดโมเดลพุทธิปัญญาและตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมด้วยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นสร้างแบบทดสอบตามแผนผังการออกข้อสอบจากโมเดลพุทธิปัญญาที่กำหนดขึ้น นำไปทดลองใช้กับนักเรียนในเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 6 โรงเรียน นักเรียนจำนวน 12 คนเพื่อระบุความบกพร่อง ระยะที่ 2 เป็นการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบด้วยการนำแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบรายข้อด้วยโมเดลดีไอเอ็นเอ และตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับ ประกอบด้วย ความเที่ยง (Reliability) ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และความตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 177 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยนี้คือ แบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การกำหนดโมเดลพุทธิปัญญาระบุคุณลักษณะที่ต้องการวินิจฉัยสำคัญ 4 คุณลักษณะ จากนั้นกำหนดแผนผังการออกข้อสอบ (Q – matrix) และสร้างข้อสอบตามแผนผังการออกข้อสอบ (Q – matrix) ซึ่งเป็นการตอบคำถาม ถ้าตอบถูกได้ 1 คะแนน แต่ถ้าตอบผิดแม้แต่คำตอบเดียวในแต่ละข้อได้ 0 คะแนน ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม(CTT) ได้แก่ ค่าความยาก(p) ระหว่าง 0.17-0.92 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.08 – 0.42 มีค่าความเที่ยงด้วยการคำนวณจากวิธีคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR20) ได้ 0.867 2. การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบรายข้อ มีค่าพารามิเตอร์การเดาข้อสอบถูก (c_j) อยู่ระหว่าง 0.01 – 0.05 ค่าพารามิเตอร์ความสะเพร่า(s_j) อยู่ระหว่าง 0.02 – 0.17 และดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ (Item Discrimination Index) อยู่ระหว่าง 0.26 – 0.75 ในส่วนของการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับ มีค่าความเที่ยงด้วยการคำนวณจากวิธีของลิวิงตัน (Livingston Method) เท่ากับ 0.986  
Author
605050077-5 Miss RATTIYA SRIJAN [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum