2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ 
Date of Distribution 10 June 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจาปี 2562 เรื่อง “การศึกษาในยุคดิจิทัล: ความท้าทายของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” 
     Organiser คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
     Conference Place อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  
     Province/State นครปฐม 
     Conference Date 10 June 2019 
     To 10 June 2019 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 220-237 
     Editors/edition/publisher คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
     Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติงานตามระบบการควบคุมภายในของ อบต. โดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการทำงานของ Herzberg (1959) เป็นแนวทางในการศึกษา และได้ทำการเก็บข้อมูลจากบุคลากรส่วนการคลังใน อบต. จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 229 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสมการถดถอยพหุคูณ โดยแยกเป็น 2 กลุ่มคือ บุคลากรระดับหัวหน้า และระดับปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า ทั้งระดับหัวหน้าและระดับปฏิบัติการมีแรงจูงใจที่เป็นปัจจัยจูงใจมากกว่าปัจจัยบารุงรักษา โดยระดับหัวหน้ามีปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติมากที่สุด และระดับปฏิบัติการมีแรงจูงใจด้านสภาพการทำงานเป็นแรงจูงใจมากที่สุด และพบว่า แรงจูงใจในระดับหัวหน้าไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการปฏิบัติงาน แสดงว่า การปฏิบัติงานของระดับหัวหน้างานไม่ได้ขึ้นอยู่กับแรงจูงใจที่มี ส่วนการศึกษาระดับปฏิบัติการ แรงจูงใจด้านสภาพการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติงาน แสดงว่า สภาพการทำงานที่ดีจะทำให้บุคลากรมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในสูง ในขณะที่แรงจูงใจด้านสภาพชีวิตความเป็นอยู่และการมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หมายความว่า การทำงานนอกเวลาส่วนตัวเป็นสาเหตุของการลดแรงจูงใจในการทำงาน และการที่หัวหน้ากระตุ้นให้บุคลากรส่วนร่วมมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดความอึดอัดและลดแรงจูงใจในการทางานได้ ดังนั้น อบต.ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมแต่ต้องระวังไม่ให้บุคลากรรู้สึกว่าความคิดของเขาไม่สำคัญต่อองค์กร 
Author
575210007-3 Miss WIMONMAS THAIYINDEE [Main Author]
Business Administration and Accountancy Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0