ชื่อบทความ |
แบบจำลองตัวแปรแฝงการรับรู้ต่อการใช้งานระบบจักรยานสาธารณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
1 กรกฎาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
|
ฉบับที่ |
|
เดือน |
|
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
ตัวแปรแฝงเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมการเลือกใช้งานจักรยานสาธารณะซึ่งเปิดทดลองใช้ภายในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่นในช่วงปี พ.ศ. 2561 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแปรแฝงและพัฒนาแบบจำลองตัวแปรแฝงการรับรู้ต่อการใช้งานระบบจักรยานสาธารณะ งานวิจัยใช้แบบสอบถามสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากผู้เดินทางในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 396 คน จัดกลุ่มปัจจัยโดยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis, EFA) และสร้างแบบจำลองตัวแปรแฝงด้วยแบบจำลองมิมิค (MIMIC Models) ผลการศึกษาพบว่า ตัวชี้วัดค่าระดับการรับรู้ในการใช้งาน 13 ตัวชี้วัดซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญและความพึงพอใจของผู้เดินทาง สร้างตัวแปรแฝง 3 ตัว ได้แก่ 1) คุณลักษณะของจักรยาน 2) การเข้าถึงจักรยาน และ 3) ความปลอดภัย ตัวแปรแฝงที่สร้างขึ้นได้รับอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจากคุณลักษณะของผู้ใช้ ได้แก่ อายุ เพศ และความถี่ในการใช้จักรยาน ผลการศึกษาช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้เดินทาง ปัจจัยแฝง และค่าระดับการรับรู้ต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนเพื่อสนับสนุนการใช้จักรยานสาธารณะในพื้นที่ที่ไม่มีวัฒนธรรมในการเดินทางด้วยจักรยาน |
คำสำคัญ |
ระบบจักรยานสาธารณะ แบบจำลองตัวแปรแฝง พื้นที่ที่ไม่มีวัฒนธรรมการเดินทางด้วยจักรยาน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|