2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 มิถุนายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร ISI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณจำนวน 12 คน แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และมีค่าความเที่ยงตามค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.97 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ในการหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมานใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าระดับปัจจัยทางการบริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.94 (S.D.= 0.70) และระดับการปฏิบัติงานการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย อยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ย 4.16 (S.D.= 0.58) และภาพรวมของปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับระดับสูงกับการปฏิบัติงานคลังยาและเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.843, p-value < 0.001) และมีตัวแปรอิสระ 4 ตัว ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลา ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยี และด้านวัสดุอุปกรณ์ มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ได้ร้อยละ 86.2 ปัญหาและอุปสรรค ส่วนใหญ่ คือ ปัจจัยทางการบริหารด้านงบประมาณการเงิน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน และการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ด้านงานคลังยาและเวชภัณฑ์ของผู้รับผิดชอบงานการเบิก-จ่ายยาและเวชภัณฑ์  
     คำสำคัญ การบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์, ปัจจัยทางการบริหาร, รพ.สต. 
ผู้เขียน
605110020-1 นาย นิกร บาลี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0