2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แพรวา (PRAEWA MODEL) ของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในชั้นเรียนรวม An Adaptation of Praewa Teaching Management Model to Increase Literacy Capacity of Primary Students in an Inclusive Class  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 5 มิถุนายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร บัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตศึกษา มจร.วิทยาเขตขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า 135 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ นักเรียนในชั้นเรียนรวมระดับประถมศึกษา เป็นนักเรียนที่ได้รับจัดการศึกษาโดยไม่มีการแบ่งแยกความบกพร่องทางการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทย การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็ก จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหาต่าง ๆได้ต่อไป การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แพรวา (PRAEWA MODEL) ของครูภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาในชั้นเรียนรวม 2) ความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่เรียนรวม กลุ่มเป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ประกอบไปด้วย ครูผู้สอนนักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกุดครองวิทยาคาร อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 คน และนักเรียนในชั้นเรียนรวม 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) กล้องบันทึกวีดิทัศน์ 2) แบบสังเกตการสอน 3) แบบสัมภาษณ์ครู 4) แบบบันทึกภาคสนาม 5) เครื่องบันทึกเสียง 6) กล้องบันทึกภาพนิ่ง และ 7) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Descriptive Analysis) หาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีแนวทางในการปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แพรวา ดังนี้ ในการเตรียมการสอน ครูวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล ประเมินพื้นฐานความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนแต่ละคน จากนั้นศึกษาคู่มือครู พัฒนาการอ่านออกเขียนได้ แพรวาโมเดล (PRAEWA MODEL) และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับความสามารถของนักเรียน ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครูจึงสอนนักเรียนเริ่มต้นด้วยจิตศึกษาก่อนเรียน จากนั้นครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนโดยเน้นกิจกรรมกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีการให้นักเรียนได้ทำงานคู่ และเดี่ยวเป็นบางครั้ง ครูมีบทบาทในการช่วยเหลือนักเรียนในการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้เป็นสำคัญ ในการใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนมีการใช้บัตรคำ บัตรภาพ คำอ่านสะกดคำ คำอ่านเป็นคำ เรียนรู้จากสื่อที่ร่วมกันสร้าง แบบฝึกทักษะการอ่านออกและเขียนได้ตามคู่มือครู พัฒนาการอ่านออกเขียนได้ แพรวาโมเดล (PRAEWA MODEL) และแบบฝึกทักษะประเภทต่าง ๆ ในการวัดและประเมินผล ครูมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคลท้ายกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคลเมื่อสิ้นภาคเรียน 2) ความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่เรียนรวม พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านออก คิดเป็นร้อยละ 78.75 หรือในระดับดี และมีความสามารถด้านการเขียนได้ คิดเป็นร้อยละ 70.83 หรือในระดับดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แพรวา (PRAEWA MODEL) ของครูมีผลต่อความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในชั้นเรียนรวมได้เป็นอย่างดี  
     คำสำคัญ คําสําคัญ: แพรวาโมเดล; อ่านออกเขียนได้ ; ชั้นเรียนรวม 
ผู้เขียน
605050134-9 นาย ชานนท์ อรัญสาร [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum