2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การตรวจพิสูจน์เส้นขนเสือชนิดที่พบในประเทศไทยด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Identification of Tigers Hairs in Thailand using Microscopy)  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 31 พฤษภาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 "การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชธานี  
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชธานี  
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 31 พฤษภาคม 2562 
     ถึง 31 พฤษภาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 47-54 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การตรวจพิสูจน์เส้นขนเป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญเพื่อจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตในทางนิติวิทยาศาสตร์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเส้นขนเสือ เพื่อใช้ในการจำแนกเสือ 8 ชนิดที่พบในประเทศไทย ได้แก่ แมวป่า แมวดาว แมวป่าหัวแบน เสือปลา เสือไฟ เสือลายเมฆ เสือดาว/เสือดำ และเสือโคร่ง ดำเนินการศึกษาโดยใช้ตัวอย่างเส้นขนจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียวและสวนสัตว์สงขลา จากการวิเคราะห์ตัวอย่างเส้นขนด้วยกล้องจุลทรรศน์ แสดงให้เห็นว่าเสือโคร่งมีเส้นขนยาวที่สุดคือ 3.94 ± 0.27 เซนติเมตร ในขณะที่เสือไฟมีเส้นขนสั้นที่สุดคือ 1.02 ± 0.08 เซนติเมตร เสือปลา เสือไฟ เสือดาว/เสือดำ และเสือโคร่งมีชั้นเมดัลล่าแบบ Continuous, แมวป่าเป็นแบบ Continuous เช่นกันแต่มีฟองอากาศแทรก, แมวดาวและแมวป่าหัวแบนเป็นแบบ Lattice และเสือลายเมฆเป็นแบบ Ladder และยังพบว่าเสือไฟมีค่าดัชนีเมดัลล่าสูงที่สุดคือ 0.80 ± 0.02 และเสือโคร่งมีค่าดัชนีเมดัลล่าต่ำที่สุดคือ 0.46 ± 0.15 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปได้ว่าความยาวเส้นขน รูปแบบชั้นเมดัลล่า และค่าดัชนีเมดัลล่า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจำแนกชนิดของเสือ อีกทั้งการศึกษาเหล่านี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างฐานข้อมูลและสนับสนุนในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการล่า การลักลอบ หรือครอบครองเสืออย่างผิดกฎหมายต่อไปได้ 
ผู้เขียน
595020003-1 น.ส. ณัฐวรา จินดามาตย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0