ชื่อบทความ |
ปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤต |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
16 สิงหาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
0125-7021 |
ปีที่ |
42 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฎาคม-กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
- |
บทคัดย่อ |
การวิจัยเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 288 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ เครื่องมือชุดที่ 1 แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤต และเครื่องมือชุดที่ 2 แบบประเมินสภาพผิวหนัง ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือชุดที่ 1 ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.94 ทดสอบหาความเที่ยงของการสังเกตระหว่างผู้สังเกตได้เท่ากับ 1.0 เครื่องมือชุดที่ 2 ทดลองใช้ในผู้ป่วยวิกฤต 30 ราย คำนวณค่าสัมประสิทธิ์ แคปปา เท่ากับ 1.0 ทดสอบหาความเที่ยงของการสังเกตระหว่างผู้สังเกตได้เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคว์สแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยแบบโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับได้แก่ การมีโรคร่วมคือโรคระบบหลอดเลือด (OR= 5.29, 95%CI=1.37-20.29, p=.01) ระดับโปรตีนอัลบูมินต่ำกว่า 3.3 กรัมต่อเดซิลิตร (OR= 5.19, 95%CI=1.17-23.05, p=.03) การใช้เครื่องช่วยหายใจ (OR= 3.37, 95%CI=1.39-8.16, p=.007) และภาวะบวม (OR= 2.74, 95%CI=1.21-6.20, p=.01) |
คำสำคัญ |
แผลกดทับ ผู้ป่วยวิกฤต ปัจจัยเสี่ยง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|