ชื่อบทความ |
สิทธิและเสรีภาพสื่อออนไลน์ในรัฐบาลสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
3 สิงหาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
6 |
ฉบับที่ |
10 |
เดือน |
ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
12 |
บทคัดย่อ |
หลังการรัฐประหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกมาตรการและกระทำการหลายกรณีเพื่อกดดันการปฏิบัติงานของสื่อออนไลน์ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การละเมิดสิทธิและเสรีภาพของสื่อออนไลน์หลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 2) เพื่อศึกษากลไกในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของสื่อออนไลน์หลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ 3) เพื่อศึกษาขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพของสื่อออนไลน์หลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของสื่อออนไลน์ในประเทศไทย ในห้วงระยะเวลา 4 ปีหลังเหตุการณ์การรัฐประหาร โดยใช้การวิจัยเชิงบรรยาย ด้วยการรวบรวมข้อมูลตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบกรณีศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ สื่อสารมวลชนในประเทศไทย ที่ใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตเพียงช่องทางเดียว ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือดำเนินการต่าง ๆ
ผลการวิจัยพบว่า
สถานการณ์หลังการรัฐประหาร เนื้อหาของสื่อออนไลน์ที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพมากที่สุด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เนื้อหาที่เกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับการวิจารณ์การปฏิบัติงานของ คสช. หรือการไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่ คสช. กำหนด
ในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของสื่อออนไลน์ ทั้งหมดมาจากกลไกของ คสช. ที่ต้องการจะจำกัดและสกัดกั้นข้อมูลข่าวสาร ที่มีความละเอียดอ่อนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และภาพลักษณ์ของ คสช.
ขอบเขตของสื่อออนไลน์ภายหลังการรัฐประหาร ยังคงมีอยู่ตามกรอบของกฎหมายและจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน แต่ต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดตามกรอบของมาตรการที่ คสช. กำหนดไว้
ผู้วิจัยเห็นว่า รัฐควรยกเลิกมาตรการเชิงบังคับต่าง ๆ ที่กระทำต่อสื่อออนไลน์ และควรรับฟังความคิดเห็นของสังคมตามหลักการมีส่วนร่วม ในด้านของสื่อออนไลน์ควรวางตัวเป็นกลางตามกรอบของกฎหมายและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และในด้านของประชาชนควรรับข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน และแสดงความคิดเห็นด้วยความระมัดระวัง
|
คำสำคัญ |
สื่อออนไลน์ สิทธิ เสรีภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
ไม่มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|