2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ กรับในวัฒนธรรมดนตรีลุ่มน้ำโขง  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร กระแสวัฒนธรรม (CULTURAL APPROACH)  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 21 
     ฉบับที่ 39 
     เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์ของการทำวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับกรับ 2) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของกรับในวัฒนธรรมดนตรีลุ่มน้ำโขง และ 3) เพื่อศึกษา อัตลักษณ์ทางดนตรีของกรับในวัฒนธรรมดนตรีลุ่มน้ำโขง โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพทาง มานุษยดุริยางควิทยา ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลทางภาคสนามเป็นหลัก ซึ่งกำหนดพื้นที่วิจัยในกลุ่มประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา อันเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีลักษณะโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งผลวิจัยพบว่า การละเล่นกรับมีประวัติศาสตร์ความเป็นที่มายาวนาน โดยปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณคดีและบันทึกหลายชิ้น เช่น ภาพประติมากรรมปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรม สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อันเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า สังคมในภูมิภาคแถบนี้มีการละเล่นดังกล่าวสืบเนื่องมาตั้งแต่ยุคอดีต ปัจจุบันปรากฏลักษณะของกรับอยู่ 3 ประเภทคือ 1) กรับเคาะ 2) กรับคู่ และ 3) กรับกระดิ่ง โดยถูกนำมาใช้เล่นประกอบจังหวะดนตรี ประกอบการขับร้อง และประกอบการแสดง รวมทั้งเข้าไปมีบทบาทในพิธีกรรมในฐานะเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั้งในวงดนตรีราชสำนัก และในวงดนตรีพื้นบ้าน โดยเฉพาะในวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งถือเป็นการละเล่นท้องถิ่นชนบทที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามเทศกาลงานบุญประเพณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ซึ่งการละเล่นกรับของแต่ละประเทศ มีลักษณะโครงสร้างทางกายภาพ เทคนิควิธีการเล่น จังหวะการบรรเลง ทำนอง บทเพลง และลีลาท่าทางในการแสดงออก ที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้มีผลมาจากความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นผลมาจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ปัจจุบันในบางพื้นที่มีการยึดถือปฏิบัติน้อย โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศลาวและกัมพูชา ที่สุ่มเสี่ยงต่อการสูญหาย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ศึกษามองว่า ศิลปะการละเล่นดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการมีวัฒนธรรมร่วมรากเดียวกัน ท่ามกลางปัจจัยความแตกต่างบนพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อันสะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่เป็นมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชาติและคู่กับท้องถิ่นนั้นๆ สืบไป  
     คำสำคัญ กรับ, วัฒนธรรมดนตรี, ลุ่มน้ำโขง 
ผู้เขียน
597220013-8 นาย นพพล ไชยสน [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0