2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระยะที่ 1 และ2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 2 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 38 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม2563
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลตนเอง ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตในระยะที่ 1 และ 2 ในชุมชน และศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน มีผู้ร่วมดำเนินการวิจัย จำนวน 39 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วย จำนวน 10 คน สมาชิกครอบครัว จำนวน 10 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 8 คน ตัวแทนจากเทศบาล จำนวน 1 คน และพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และแนวทางการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิเคราะห์เชิง เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต พฤติกรรมการจัดการความเจ็บป่วยไม่เหมาะสม สมาชิกครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ไม่เข้าใจเรื่องโรคและการดูแลผู้ป่วย ผู้นำชุมชนทราบสถานการณ์ปัญหาในชุมชนแต่ยังไม่มีกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา ระบบบริการสุขภาพขาดการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จากสภาพปัญหาได้ประชุมระดมสมองแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและดำเนินการดังนี้ 1)อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตแก่ ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว 2)พัฒนากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อฝึกทักษะการดูแลตนเอง ได้แก่ การติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ความรู้เรื่องโภชนาการลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม และการฝึกสมาธิบำบัด SKT 3) การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต 4)การพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการเยี่ยมบ้าน 5) การเยี่ยมบ้านและการวางแผนการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล 6)รณรงค์ชุมชนรวมพลัง ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม ลดโรคไตในชุมชน ภายหลังการดำเนินงานตามแผนงานเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ มีผลการดำเนินงานดังนี้ ผลลัพธ์ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ป่วยสามารถจัดการพฤติกรรมการดูแลตัวเองได้ดี ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมการอาหาร ลดอาหารเค็มโดยเฉพาะเกลือโซเดียม เพิ่มการออกกำลังกายเป็น 3-5 วันต่อสัปดาห์ และเคร่งครัดการรับประทานยามากขึ้น ผลลัพธ์ทางคลินิก ผู้ป่วยเบาหวานสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)ได้จำนวน 9 คน สามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) จำนวน 7 คน และสามารถเพิ่มอัตราการกรองของไต (eGFR) จำนวน 6 คน ทุกกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ส่งผลให้เกิดการดูแลผู้ป่วยในชุมชนร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เกิดผลลัพธ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น ทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการควรมีการหาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจและติดตามพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย  
     คำสำคัญ การเสริมสร้างพลังอำนาจ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต 
ผู้เขียน
595060047-7 น.ส. กิ่งกมล พุทธบุญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0