2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article วิถีชีวิตและปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
Date of Acceptance 16 September 2019 
Journal
     Title of Journal ศรีนครินทร์เวชสาร 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 08573123 
     Volume 35 
     Issue
     Month มกราคม-กุมภาพันธ์
     Year of Publication 2019 
     Page  
     Abstract หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะโภชนาการเกินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและกำลังเป็นปัญหาที่มีความชุกเพิ่มมากขึ้น การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะโภชนาการเกินกับวิถีชีวิตด้านต่าง ๆ ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิธีการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างจำนวน 387 คน ได้รับการประเมินภาวะโภชนาการเกินโดยใช้ค่าดัชนีมวลกายที่มีค่า ≥23 กก./ม2 เก็บข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ระยะเวลาการทำกิจกรรมเนือยนิ่ง และการบริโภคอาหาร ด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ประเมินกิจกรรมทางกายโดยใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับโลก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตด้านต่างๆกับภาวะโภชนาการเกินด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 77.8 อายุเฉลี่ย 42 ปี กลุ่มตัวอย่างมีภาวะโภชนาการเกิน (BMI ≥ 23 กก./ม2) ร้อยละ 55มีกิจกรรมทางกายระดับหนัก ปานกลาง เบา ร้อยละ 40.0, 23.8 และ 36.2 ตามลำดับ เวลาที่ใช้ในกิจกรรมเนือยนิ่งเฉลี่ย11.7 ชม./วัน กลุ่มตัวอย่างมีการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อน้ำหนักเกิน ระดับเสี่ยงมากและปานกลางร้อยละ 19.7 และ 73.1 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศชาย (adjusted OR =2.5, 95% CI: 1.39-4.35) อายุ 40-60 ปี (adjusted OR = 3.36, 95% CI : 2.08-5.44) การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี (adjusted OR =3.18, 95% CI : 1.41-7.15) การมีญาติสายตรงอ้วน (adjusted OR =2.45, 95% CI : 1.54-3.88 ) การรับประทานอาหารมื้อดึก (adjusted OR =1.87, 95% CI : 1.01-3.45) สรุป: บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มากกว่าครึ่งหนึ่งมีภาวะโภชนาการเกิน โดยหนึ่งในสามมีกิจกรรมทางกายในระดับต่ำที่เสี่ยงต่อสุขภาพ ดังนั้นควรจัดกิจกรรมควบคุมน้ำหนักในบุคลากรกลุ่มนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชายอายุ 40 ปี ขึ้นไป ที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและมีญาติที่อ้วน และควรแนะนำให้งด/ลดการรับประทานอาหารมื้อดึก  
     Keyword วิถีชีวิต, ภาวะโภชนาการเกิน, บุคลากรสายสนับสนุน 
Author
605110077-2 Mr. NATTAPONG ANCHALEE [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0

<
forum