Title of Article |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน
อายุ 2-5 ปี ในเขตสุขภาพที่ 7 ประเทศไทย |
Date of Acceptance |
17 September 2019 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
1906-1137 |
Volume |
13 |
Issue |
2 |
Month |
เมษายน-มิถุนายน |
Year of Publication |
2020 |
Page |
|
Abstract |
การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการในเด็กเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 2-5 ปี ในเขตสุขภาพที่ 7 ประเทศไทย จำนวนทั้งหมด 366 คนโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาสถานการณ์การเจริญเติบโต ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโต และรูปแบบการส่งเสริมการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กปฐมวัยไทย สำนักโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกนำเสนอด้วยค่า Adjust odds ratio (ORadj) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม นำเสนอด้วยค่า Relative risk ratio (RRR) ช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% (95% Confidence interval; 95%CI)
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะเตี้ย ร้อยละ 4.1 มีภาวะผอม น้ำหนักเกิน และอ้วน ร้อยละ 4.9 11.8 และ 10.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 2,500 กรัมมีความสัมพันธ์กับภาวะเตี้ย (ORadj=4.26, 95% CI: 1.65–11.01) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศชาย (RRR =1.83, 95% CI: 1.11–3.07) และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับนมแม่น้อยกว่า 6 เดือน (RRR=1.91, 95% CI: 1.11-3.27)ในขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผอมของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ของมารดาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (RRR=3.61, 95% CI: 1.23-10.42) และกลุ่มตัวอย่างที่บริโภคอาหารเช้าไม่ครบทุกวัน (RRR=2.80, 95% CI: 1.02-7.67) การศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านมารดาและสุขภาพเด็กมีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมโภชนาการที่ถูกต้องให้แก่เด็กก่อนวัยเรียน โดยเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งภายหลังเด็กเกิด รวมถึงมีการติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง |
Keyword |
ภาวะโภชนาการ, เด็กวัยก่อนเรียน, การเจริญเติบโต |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|