2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ผลกระทบจากความเครียดส่งผลร้ายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นอย่างมากซึ่งเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายที่พบบ่อยทั่วโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่มีความเครียดในระดับปานกลาง อายุ 25-59 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 42 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆได้แก่ กระบวนการสุนทรียสาธก การบรรยายให้ความรู้ การอภิปรากลุ่ม การสาธิตและฝึกปฏิบัติการจัดการความเครียด ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมดังกล่าวเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์สถิติข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยสถิติ Paired sample t-test และ independent t-test, 95 % Confident interval กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวความเครียด ด้านการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพจิต ด้านการรู้เท่าทันสื่อและความสามารถในการประเมินข่าวสารและบริการสุขภาพที่มีผลต่อสุขภาพจิตตนเอง ด้านการสื่อสารทำให้เกิดแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพจิตตนเอง ด้านการปฐมพยาบาลจิตใจเบื้องต้น ด้านการตัดสินใจในการเลือกปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการจัดการความเครียด)และการปฏิบัติในการจัดการความเครียดด้วยจิตวิทยาเชิงบวกสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001)ส่วนคะแนนเฉลี่ยของความเครียดในกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P-value < 0.001) จากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขและเผยแพร่ไปยังพื้นที่อื่นๆได้  
     คำสำคัญ ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การจัดการความเครียด จิตวิทยาเชิงบวก  
ผู้เขียน
605110051-0 นาย วัชรินทร์ เสาะเห็ม [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0