2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ใส่ท่อช่วยหายใจและรักษาอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน (Academic Journal of Community Public Health) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
     ISBN/ISSN ISSN 2408-2686  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม – มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ โรคปอดบวม คือสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิต มีผู้ป่วยโรคปอดบวมใส่ท่อช่วยหายใจมากขึ้น ทำให้ภาระงานของเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพการดูแลและเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Case - Control Study) เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ใส่ท่อช่วยหายใจและรักษาอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย จำนวน 924 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 462 คน ได้แก่ กลุ่มศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจชนิด Endotracheal tube (ET tube) และกลุ่มควบคุมคือ ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ไม่ได้ใส่ ET tube แต่ให้การบำบัดรูปแบบอื่น เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนด้วยแบบคัดลอกข้อมูล วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ด้วยวิธีถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ใส่ ET tube ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.36 อายุเฉลี่ย 64.09 ปี (ค่ามัธยฐาน=15.09 ปี) ส่วนใหญ่มารักษาในฤดูฝน ร้อยละ 45.23 ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตอำเภอเมือง ร้อยละ 80.74 พบว่าระดับการศึกษา ชนิดเชื้อก่อโรค ชนิดโรคประจำตัว ประวัติสูบบุหรี่ และระยะเวลาก่อนมารักษาที่โรงพยาบาล มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ใส่ท่อช่วยหายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value= 0.01, < 0.001, < 0.001, < 0.001, 0.01 ตามลำดับ) ดังนั้น การเฝ้าระวังและใส่ใจผู้ป่วยที่มีการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา มีโรคประจำตัวและมีประวัติสูบบุหรี่ ตั้งแต่การคัดกรอง การรักษา การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย อาจช่วยลดความรุนแรงและการใส่ ET tube ได้ 
     คำสำคัญ ระบาดวิทยา, ปอดบวม, ใส่ท่อช่วยหายใจ, การศึกษาแบบย้อนหลัง, ปัจจัยที่สัมพันธ์ 
ผู้เขียน
605110040-5 นาย สิริพงษ์ แทนไธสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ
464070038-7 นาย พรฤทธิ์ พิสุทธิมาน
คณะแพทยศาสตร์ ประกาศนียบัตรบัณฑิต ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0