ชื่อบทความ |
ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และสมรรถภาพของกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดอุบลราชธานี |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
29 สิงหาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
8 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
กรกฏาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ 2) ประเมินสมรรถภาพของกล้ามเนื้อในเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 316 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความความเมื่อยล้าของร่างกาย แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยเทคนิค REBA และการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 57.28 มีอายุระหว่าง 50-60 ปี ร้อยละ 34.49 และทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 61.08 ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่มีอาการปวดในระดับปานกลาง โดยพบสูงสุดที่ตำแหน่งมือและข้อมือ รองลงมาคือบริเวณเข่า และหลังส่วนบน ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วย REBA พบว่า เกษตรกรมีท่าทางที่มีความเสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 4 พบความเสี่ยงสูงสุดในขั้นตอนการทำยางแผ่น รองลงมาคือกรีดยาง เก็บน้ำยางสด และยางก้อนถ้วย ตามลำดับ ผลการวัดสมรรถภาพของกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา พบว่า การวัดแรงบีบมือและแรงเหยียดหลัง อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 32.91 ร้อยละ 54.43 ตามลำดับ ส่วนแรงเหยียดขา อยู่ในระดับต่ำมาก ร้อยละ 75.63 จากการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการยศาสตร์ จะเห็นว่าเกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีการทำงานในท่าทางซ้ำซาก และท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาวโดยเฉพาะระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ จึงควรอบรมให้ความรู้ทางด้านการยศาสตร์ หลีกเลี่ยงท่าทางการทำงานที่ผิดธรรมชาติ และส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เพื่อลดความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน
|
คำสำคัญ |
การยศาสตร์, ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, การกรีดยาง, REBA |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|