2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ผู้ป่วยที่คัดสรรระหว่างผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ที่ได้รับการถอดท่อช่วยหายใจออกและที่คาท่อช่วยหายใจออกมาจากห้องผ่าตัด  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 23 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 37 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาอยู่รักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ได้รับการถอดท่อช่วยหายใจออกในห้องผ่าตัด และผู้ป่วยที่คาท่อช่วยหายใจออกมาจากห้องผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 88 ราย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด คือ อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดตามกำหนดการนัดผ่าตัด (Elective case) มีค่าคะแนนความเสี่ยงทางระบบหัวใจและหลอดเลือดก่อนการผ่าตัด (The European System for Cardiac Operative Risk Evaluation II) EuroSCORE II น้อยกว่า 6 แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการถอดท่อช่วยหายใจออกในห้องผ่าตัด และกลุ่มที่คาท่อช่วยหายใจออกมาจากห้องผ่าตัด กลุ่มละ 44 ราย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ข้อมูลก่อนผ่าตัด ข้อมูลการรักษาและการผ่าตัด ระยะเวลาอยู่รักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 2) แบบบันทึกประเมิน EuroSCORE II และ 3) แบบบันทึกข้อมูลการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, Chi-square, Fisher’s exact, t-test, และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ได้รับการถอดท่อช่วยหายใจออกในห้องผ่าตัดมีระยะเวลาอยู่รักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตสั้นกว่ากลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่คาท่อช่วยหายใจออกมาจากห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MeanExt 30.11, SD 17.44; MeanInt 54.42, SD 25.74, p = 0.00) แต่อย่างไรก็ตาม ระยะเวลานอนในโรงพยาบาลและการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p = 0.137, p= 0.05, ตามลำดับ) ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในทั้งสองกลุ่ม ได้แก่ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (คาท่อ 18.2%, ถอดท่อ 20.5%) ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (คาท่อ 13.6%, ถอดท่อ 6.8%) และการเกิดภาวะปริมาณเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลง (คาท่อ 13.6%, ถอดท่อ 2.3%) จะเห็นได้ว่าภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดบางประการมีแนวโน้มเกิดมากกว่าในกลุ่มที่คาท่อ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ถอดท่อออกมาจากห้องผ่าตัดมีระยะเวลาอยู่ใน ICU หลังผ่าตัดสั้นกว่า แต่อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ดังนั้น พยาบาลใน ICU จึงควรเฝ้าระวังติดตามภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยและให้การดูแลเพื่อป้องกัน  
     คำสำคัญ การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ระยะเวลานอนในโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดหัวใจ การถอดท่อช่วยหายใจ การคาท่อช่วยหายใจ 
ผู้เขียน
595060008-7 น.ส. สุวิมล วงษาจันทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0