ชื่อบทความ |
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของรายการสารเคมีที่ต้องเฝ้าระวังทางการแพทย์เชิงอาชีวเวชศาสตร์ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
2 ตุลาคม 2562 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
ศรีนครินทร์เวชสาร (SRINAGARIND MEDICAL JOURNAL) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
35 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
มีนาคม-เมษายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: สารเคมีอันตรายที่พนักงานสัมผัสจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังทางการแพทย์ในเชิงอาชีวเวชศาสตร์ แต่ละประเทศมีรายการที่แตกต่างกันและประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า และเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาแบบเดลฟายประยุกต์ (modified Delphi technique) ต่อไป
วิธีการศึกษา: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) สืบค้นวรรณกรรมจากฐานข้อมูลนานาชาติระหว่าง ค.ศ. 2000-2018 และคัดเลือกเฉพาะกฎหมาย ระเบียบ แนวทางการปฏิบัติ / ข้อแนะนำ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี พบเอกสารจากการสืบค้นจำนวน 13 องค์กรจาก 11 ประเทศ ซึ่งถูกนำมาวิเคราะห์โดยแบ่งพิจารณาทบทวนเป็น 2 ส่วนตามภารกิจขององค์กรได้แก่ หน่วยงานที่มีภารกิจกำหนดกฎหมายเป็นหลัก และหน่วยงานที่มีการเผยแพร่ข้อมูลหรือเน้นสนับสนุนทางวิชาการ
ผลการศึกษา: พบ 6 องค์กรที่ได้กำหนดรายชื่อสารเคมีที่ต้องเฝ้าระวังทางการแพทย์ ดังนี้ OSHA 14 กลุ่ม AMPATH 31 กลุ่ม WHS 15 กลุ่ม WSHC 14 กลุ่ม OSH 35 กลุ่ม ประกาศกระทรวงแรงงานประเทศไทย 74 กลุ่ม มีสารเคมีที่กำหนดตรงกันกับประเทศไทยตั้งแต่ 1-5 องค์กร จำนวน 33 กลุ่ม อาทิ Benzene, Lead, Arsenic และมีจำนวนสารเคมีที่มีปรากฏเฉพาะประเทศไทยกำหนด 36 กลุ่ม
สรุป: จำนวนสารเคมีที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังทางการแพทย์อยู่ระหว่าง 14 -74 กลุ่ม ซึ่งสารเคมีที่กำหนดตรงกันกับประเทศไทยตั้งแต่ 1-5 องค์กร พบว่าเป็นกลุ่มโลหะหนัก ไอระเหย และสารกำจัดศัตรูพืช |
คำสำคัญ |
สารเคมี การเฝ้าระวังทางการแพทย์ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|