2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การป้องกันและปราบปรามแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองในจังหวัดขอนแก่น: มุมมองของเจ้าหน้าที่ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 ตุลาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่ 10 
     เดือน ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการในการป้องกันและปราบปรามแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองในจังหวัดขอนแก่นรวมถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการป้องกันและปราบปราม พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดขอนแก่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร รวบรวมข้อมูลจากตำรา งานวิจัย และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดขอนแก่น สำนักงานแรงงานจังหวัดขอนแก่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดขอนแก่น รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ในรูปแบบของการอธิบายเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า หน่วยงานของรัฐในจังหวัดขอนแก่นที่รับผิดชอบในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายมีกระบวนการทำงานบูรณาการร่วมกัน ใช้มาตรการหลากหลายในการป้องกันและปราบปรามแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยมาตรการป้องกันแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ การออกตรวจ การให้ความรู้แก่นายจ้าง มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจ้างแรงงาน และมาตรการปราบปรามแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ การสืบสวน จับกุม และดำเนินคดี รวมทั้งการส่งตัวแรงงานกลับประเทศต้นทาง นอกจากนี้ ผลการศึกษาทำให้พบอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบเข้าเมือง คือ 1) สภาพภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการลักลอบเข้ามา เพราะเป็นพรมแดนธรรมชาติทำให้ยากต่อการควบคุมและดูแล 2) ความมักง่ายและเห็นแก่ตัวของผู้ประกอบการ ที่ยังเลือกใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยมองว่าเป็นการลดต้นทุนกิจการของตัวเอง 3) การขาดความรู้ความเข้าใจของทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและตัวแรงงานต่างด้าวเองในกระบวนการหรือขั้นตอนในการขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย 4) งบประมาณที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ 5) การลักลอบกลับเข้ามาอีกของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่เคยถูกจับกุม ดำเนินคดี และถูกผลักดันกลับประเทศ 6) การขาดความร่วมมือจากประเทศต้นทางในการคัดกรองคนออกนอกประเทศของตนเอง  
     คำสำคัญ การป้องกันและปราบปราม, แรงงานต่างด้าว, การลักลอบเข้าเมือง, จังหวัดขอนแก่น 
ผู้เขียน
615280055-4 น.ส. นิตยา คงคุ้ม [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0