Title of Article |
ลักษณะมัดท่อลำเลียงของอ้อยพันธุ์ที่มีระดับความต้านทานการหักล้มของลำต้นที่แตกต่างกัน |
Date of Acceptance |
20 October 2017 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
37 |
Issue |
2 |
Month |
มีนาคม-เมษายน |
Year of Publication |
2018 |
Page |
231-237 |
Abstract |
การหักล้มของอ้อยทำให้ความหวานและผลผลิตลดลง ซึ่งการหักล้มของอ้อยอาจจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มเนื้อเยื่อลำเลียงในลำต้น โดย
เนื้อเยื่อลำเลียงจะทำหน้าที่ให้โครงสร้างลำต้นเกิดความแข็งแรง ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาจำนวนและขนาด
มัดท่อลำเลียงของลำต้นอ้อยพันธุ์ที่มีระดับการหักล้มที่แตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block
Design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ใช้อ้อย 6 พันธุ์ที่มีความต้านทานการหักล้มแตกต่างกันเป็นกรรมวิธีทดลอง พันธุ์ที่ต้านทานการ
หักล้ม จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ KK3, MP02-665 และ K88-92 พันธุ์ไม่ต้านทานการหักล้ม ได้แก่พันธุ์ MP07-309, MP1 และ MP3
ตรวจวัดจำนวนและขนาดมัดท่อลำเลียง พบว่า พันธุ์อ้อยที่มีความต้านทานการหักล้มทางลำต้นต่างกันมีจำนวนของมัดท่อลำเลียง
และขนาดของมัดท่อลำเลียงแตกต่างกันด้วย โดยพันธุ์ที่ต้านทานการหักล้มมีจำนวนมัดท่อลำเลียงหรือมีขนาดมัดท่อลำเลียงที่
บริเวณโคนและกลางลำต้นมากกว่าพันธุ์ที่ไม่ต้านทานการหักล้ม ซึ่งในพันธุ์ที่ต้านทานการหักล้มมีความเด่นของทั้ง 2 ลักษณะ
แตกต่างกัน กล่าวคือ พันธุ์ KK3 ต้านทานการหักล้มโดยมีจำนวนมัดท่อลำเลียงที่บริเวณโคนลำต้นมาก ส่วนพันธุ์ MP02-665
และ K88-92 มีมัดท่อลำเลียงขนาดใหญ่ทั้งบริเวณโคนและกลางลำต้น ความเข้าใจในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
พันธุ์อ้อยให้ต้านทานการหักล้มของลำต้น ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการของผลิตอ้อยทั้งในแง่การจัดการแปลงและการเก็บเกี่ยว
อ้อยต่อไป |
Keyword |
สเกลอเรงคิมา ไฟเบอร์ ปล้อง ลิกนิน |
Author |
|
Reviewing Status |
ไม่มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ตีพิมพ์แล้ว |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|