Research Title |
การประเมินอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัยโดยใช้แบบจำลองอุปสงค์ต่อการเปลี่ยนแปลงราคา |
Date of Distribution |
23 September 2019 |
Conference |
Title of the Conference |
งานประชุมวิชาการและนวัตกรรมของ กฟภ. ปี 2562 (PEACON & INNOVATION 2019) |
Organiser |
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค |
Conference Place |
ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ |
Province/State |
กทม,ประเทศไทย |
Conference Date |
23 September 2019 |
To |
24 September 2019 |
Proceeding Paper |
Volume |
2019 |
Issue |
5 |
Page |
413-420 |
Editors/edition/publisher |
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค |
Abstract |
เนื่องด้วยปัจจุบันการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่
อาศัยมีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตเป็นอย่างมาก อัน
เนื่องมาจาก ในช่วงเวลากลางวันกำลังไฟฟ้าส่วนหนึ่งถูกชดเชย
ด้วยกำลังไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่ง
ส่งผลให้รูปแบบ อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ Time
of Use Rate (TOU) ที่ถูกใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ไม่
สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บทความวิจัยนี้จึงนำเสนอ
วิธีการหาอัตราค่าไฟฟ้า TOU ที่เหมาะสม สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า
ประเภทที่อยู่อาศัย โดยอัตรา TOU จะถูกแบ่งออกเป็น 3
อัตรา ซึ่งแบ่งตามระดับความต้องการใช้กำลังไฟฟ้า ดังนี้คือ
ช่วงที่มีความต้องการใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ (Off-Peak load) ปาน
กลาง (Mid-Peak load) และสูง (Peak load) ตามลำดับ
เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดร่วมกันทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าและการ
ไฟฟ้า โดยวัตถุประสงค์ของวิธีการหาอัตราค่าไฟฟ้า TOU ที่
เหมาะสม ประกอบไปด้วย การลดภาระโหลดสูงสุด การลด
ความผันผวนของโหลด และการลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้า
ของผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งในการประเมินการเปลี่ยนแปลงความ
ต้องการใช้ไฟฟ้าต่ออัตราค่าไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ได้
อาศัยหลักการทางด้านเศรษฐศาสตร์ เรื่องความยืดหยุ่นของ
อุปสงค์ต่อราคา (Price elasticity of demand) โดยการหา
ค่าอัตราไฟฟ้า TOU ที่เหมาะสมนั้น ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม
(Genetic algorithm: GA) ได้ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยนี้ ภายใต้
เงื่อนไขบังคับที่กำหนด คือ กำหนดความต้องการกำลังไฟฟ้า
สูงสุด ความผันผวนของโหลด และค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้ารวมของ
ผู้ใช้ไฟฟ้า ภายหลังใช้อัตรา TOU ใหม่ต้องไม่สูงกว่าค่าเดิม
กำหนดความแตกต่างของราคาค่าไฟฟ้าแต่ละช่วง กำหนดการ
ใช้พลังงานไฟฟ้ารวมของผู้ใช้ไฟฟ้าต้องมีปริมาณเท่าเดิม โดย
ใช้ข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัย ของ กฟภ. ซึ่งวิธีที่
นำเสนอนี้สามารถแสดงการประเมินอัตราค่าไฟฟ้า TOU ที่
เหมาะสมได้ โดยไม่ละเมิดเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งเป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ โดยความต้องการใช้กำลังไฟฟ้าสูงสุดลดลงจาก
เดิม 0.46% ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างช่วงที่มีความต้องการ
ใช้ไฟฟ้าสูงสุดและต่ำสุด ลดลงจากเดิม 6.77% และค่าใช้จ่าย |
Author |
|
Peer Review Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
ชาติ |
Type of Proceeding |
Abstract |
Type of Presentation |
Oral |
Part of thesis |
true |
Presentation awarding |
true |
Award Title |
บทความดีเด่นด้าน Employ Innovation and Technology (ใช้นวัตกรรม) |
Type of award |
รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ |
Organiser |
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค |
Date of awarding |
23 กันยายน 2562 |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|