2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเพิ่มปริมาณการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในระบบจำหน่ายแรงดันต่ำโดยการติดตั้งและ การทำงานที่เหมาะสมของระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 กันยายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการและนวัตกรรมของ กฟภ. ปี 2562 (PEACON & INNOVATION 2019) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 กันยายน 2562 
     ถึง 24 กันยายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2019 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 153 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ในปัจจุบันมาตรฐานการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในระบบจำหน่ายแรงดันต่ำของ กฟภ. จะต้องไม่เกินขีดจำกัดร้อยละ 15 ของหม้อแปลงจำหน่ายลูกเดียวกัน แต่เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการติดตั้งได้เพิ่มมากขึ้นและไม่ละเมิดเงื่อนไขของระบบจำหน่ายที่กำหนด งานวิจัยนี้เสนอการเพิ่มปริมาณการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในระบบจำหน่ายแรงดันต่ำด้วยการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ในระบบจำหน่าย ค่าใช้จ่ายและรายได้จากการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่จะถูกพิจารณาเพื่อนำมาคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (net present value: NPV) ตลอดช่วงอายุโครงการ โดยในงานวิจัยนี้จะวิเคราะห์ปริมาณการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (PV penetration level) ที่แตกต่างกัน 4 กรณี ในระบบจำหน่ายแรงดันต่ำ 41 บัส โดยแต่ละกรณีจะมีการออกแบบการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่โดยมีวัตถุประสงค์คือทำให้ผลรวมมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงสุด หลังจากนั้นจะพิจารณากรณีที่มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงที่สุดในการระบุค่าที่เหมาะสมที่สุดของ PV penetration level พร้อมกับการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ในระบบจำหน่าย สำหรับการหาคำตอบของปัญหาจะใช้วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่าง (Differential Evolution Algorithm: DE) ในการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด จากผลการทดลองปรากฏว่า ในกรณีที่ 4 สามารถให้ผลรวมมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 1.99 ล้านบาท PV penetration level เท่ากับ 130% ขนาดระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่เท่ากับ 789.44 kWh และตำแหน่งระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ คือ บัสที่ 9 
ผู้เขียน
605040119-1 นาย ณัฐพล คะบุศย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0