2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การลดฟลูออไรด์ในน้ำโดยใช้กระดูกวัวและก้างปลา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 พฤษภาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า 49-57 
     บทคัดย่อ ประเทศไทยมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบาดาลสูงในบริเวณจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันตก รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศและจะเป็นอันตรายหากนำน้ำดังกล่าวมาบริโภค ปัจจุบันได้มีการศึกษาวัสดุที่มีความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำได้จากวัสดุหลายชนิดรวมถึงถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการสังเคราะห์ถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวและก้างปลาด้วยวิธีการทางความร้อน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกของกระดูกวัวและก้างปลาถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ โครงสร้างจุลภาคของถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่สังเคราะห์ได้จะถูกศึกษาโดยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด ถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่สังเคราะห์ได้ถูกนำมาล้างด้วยน้ำปราศจากไอออนและกรดคาร์บอนิคเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำด้วยวิธีการแบทซ์ที่ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ค่าพีเอชเท่ากับ 5 กระดูกวัวและก้างปลาเปลี่ยนโครงสร้างผลึกเป็นถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่อุณหภูมิ 400 และ 1,000 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวที่ถูกล้างด้วยกรดคาร์บอนิคมีความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์สูงสุดที่ 40 % (0.8 มิลลิกรัมฟลูออไรด์/กรัม) โดยใช้ผงไฮดรอกซีอะพาไทต์ 0.5 กรัม 
     คำสำคัญ ไฮดรอกซีอะพาไทต์ ถ่านกระดูก วิธีการแบทซ์ 
ผู้เขียน
595040130-2 นาย นิรวิทย์ สุทธิ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0