2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความชุกและลักษณะฟันกร่อนในผู้ว่ายน้ำในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 พฤศจิกายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 22 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า 56-66 
     บทคัดย่อ ประเทศไทยพบรายงานภาวะฟันกร่อนในนักกีฬาว่ายน้ำและผู้ว่ายน้ำเป็นประจำ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาที่พบได้บ่อย คือ อาการเสียวฟัน ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในด้านต่างๆ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะฟันกร่อนในผู้ว่ายน้ำ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยแบบตัดขวาง ดำเนินการศึกษาในกลุ่มประชากรผู้ว่ายน้ำอายุ 13-25 ปี ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม ซึ่งมีการประเมินสภาวะฟันกร่อน สภาวะฟันผุและแผ่นคราบจุลินทรีย์โดยทันตแพทย์คนเดียวที่ผ่านการปรับมาตรฐาน วัดระดับความกร่อนของฟันหน้าบน 6 ซี่ ด้วยดัชนีฟันกร่อน (เบสิก อีโรซีฟ แวร์ อิกแซมมิเนชั่น) ทำการวัดค่าความเป็นกรดด่างของน้ำในสระว่ายน้ำ และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ทางสถิติด้วยสถิติเชิงพรรณา และใช้สถิติครัสคัล-วอลลิสเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีฟันกร่อนระหว่างกลุ่มที่มีจำนวนปีที่ฝึกซ้อมว่ายน้ำเป็นประจำต่างกัน ผลการศึกษา ผู้ว่ายน้ำจำนวน 46 คน มีค่าเฉลี่ยดัชนีคราบจุลินทรีย์เท่ากับ 1.3 ±0.5 ความชุกของการเกิดฟันกร่อนและอาการเสียวฟันหลังการว่ายน้ำทันทีเท่ากับร้อยละ 100 ฟันที่มีระดับความรุนแรงของการสึกกร่อนสูงสุด คือ ฟันตัดซี่กลาง ฟันตัดซี่ข้างและฟันเขี้ยว ตามลำดับ โดยผิวฟันด้านใกล้ริมฝีปากมีระดับการสึกกร่อนรุนแรงมากกว่าด้านใกล้เพดาน ผู้ว่ายน้ำที่มีจำนวนปีของการฝึกซ้อมเป็นประจำที่มากกว่ามีแนวโน้มมีระดับฟันกร่อนที่รุนแรงกว่า (p=0.05) โดยแตกต่างเข้าใกล้ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) ส่วนคะแนนดัชนีฟันกร่อนของด้านใกล้ริมฝีปากแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) 
     คำสำคัญ ความชุก/ ฟันกร่อน/ ว่ายน้ำ/ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 
ผู้เขียน
605130001-3 น.ส. ชลินธร วิศวะกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 25