2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการออกแบบภายใต้แนวคิดวิถีอีสานโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
Date of Distribution 12 July 2019 
Conference
     Title of the Conference โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 5 "ศิลปะสร้างโลก" Art Create the World คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     Conference Place โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 12 July 2019 
     To 13 July 2019 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 229-237 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการออกแบบภายใต้แนวคิดวิถีอีสานโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยให้จำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนผลงานศิลปะเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการออกแบบภายใต้แนวคิดวิถีอีสานโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL)เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการทดลองขั้นต้น (Pre - Experimental Design) แบบกลุ่มเดียววัดหลังเรียน(One Shot Case Study) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 27 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนประชารัฐพัฒนาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การออกแบบวิถีอีสาน จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลา 18 ชั่วโมง 2)แบบประเมินทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการประเมินผลงานการออกแบบภายใต้แนวคิดวิถีอีสานนั้น มีค่าเฉลี่ยรวมคิดเป็นร้อยละ 77.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และจากผลการสังเกตการณ์ประเมินผลการประเมินทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 13.1 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 66.9 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เมื่อเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จนมาถึงการสอนครั้งสุดท้าย ผู้วิจัยทำการสอบถามนักเรียนจำนวน 27 คน มีผลความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61และเมื่อพิจารณาเป็นด้านต่างๆจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านบรรยากาศในการเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 และด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือด้าน ด้านการใช้สื่อการสอน  
Author
605050010-7 Miss PRAWPRAEW KHAMSO [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum