2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การศึกษาความรู้และทัศนคติในการจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนและโรคท้องร่วงเฉียบพลัน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบัวเชด 
Date of Distribution 7 August 2019 
Conference
     Title of the Conference Innovation and Disruptive Technology in Medical Education and Service นวัตกรรมและการพลิกโฉมเทคโนโลยีทางแพทยศาสตรศึกษา และการบริการทางการแพทย์ 
     Organiser คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place อาคารเตรียมวิทยาศาสตร์คลินิก ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 7 August 2019 
     To 9 August 2019 
Proceeding Paper
     Volume 2562 
     Issue
     Page 100 
     Editors/edition/publisher ศ.พจน์ ศรีบุญลือ 
     Abstract การศึกษาความรู้และทัศนคติในการจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนและโรคท้องร่วงเฉียบพลัน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบัวเชด จารุวรรณ ไชยโยธา1*, ดร.สมชาย สุริยะไกร2 1นักศึกษา หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Study of knowledge and attitude of rational use of antibiotics in treatment of upper respiratory tract infections and acute diarrhea: Case study of Buached Hospital. Jaruwan Chaiyota1*, Dr.Somchai Suriyakrai2 1Master of Pharmacy in Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Khon Kaen University 2Assistant Professor in Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Khon Kaen University หลักการและวัตถุประสงค์: การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่สมเหตุผลเป็นปัญหาที่พบได้ในทุกภูมิภาคทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลทั้งในระดับชุมชน หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน จากรายงานการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลบัวเชดและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 8 แห่ง ปี 2561 ดังนี้ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนโรงพยาบาลบัวเชดร้อยละ 27.45, สะเดาร้อยละ 12.84, จรัสร้อยละ 9.21, บ้านนาสนวนร้อยละ 15.37, ตาวังร้อยละ 0.88, บ้านหนองโจงโลงร้อยละ 12.24, อาโพนร้อยละ 10.11, สำเภาลูนร้อยละ 2.28 และบ้านรุนร้อยละ 11.80 ตามลำดับ และโรคท้องร่วงเฉียบพลัน โรงพยาบาลบัวเชดร้อยละ 21.46, สะเดาร้อยละ 0.10, จรัสร้อยละ 23.40, บ้านนาสนวนร้อยละ 25, ตาวังร้อยละ 14.29, บ้านหนองโจงโลงร้อยละ 13.11, อาโพนร้อยละ 25.71, สำเภาลูนร้อยละ 12.50 และบ้านรุนร้อยละ 23.68 พบว่าโรงพยาบาลบัวเชด จรัส บ้านนาสนวน อาโพนและบ้านรุน ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่ RDU กำหนดคือ ≤ ร้อยละ 20 ทั้งนี้มีนโนบายการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยอบรมให้ความรู้และแจกสื่อที่รณรงค์ให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลแก่เจ้าหน้าที่แล้วแต่การใช้ยาปฏิชีวนะในโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนและโรคท้องร่วงเฉียบพลันก็ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่ RDU ดังนั้นจึงมีการศึกษาความรู้และทัศนคติในการจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนและโรคท้องร่วงเฉียบพลันโดยกรณีศึกษาโรงพยาบาลบัวเชด วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากรที่ศึกษาคือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่สั่งใช้ยาในโรงพยาบาลบัวเชดและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 8 แห่งในอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 34 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดความรู้และแบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนและโรคท้องร่วงเฉียบพลันโดยใช้ยาสมุนไพรทดแทน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 และ 0.75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ t-test ผลการศึกษา: ประชากรมีความรู้อยู่ในระดับดีเกี่ยวกับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอร้อยละ 97.06 ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการไอมีเสมหะร้อยละ 91.18 และ อาการที่ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรในการรักษาร้อยละ 88.24 ตามลำดับและด้านทัศนคติที่เห็นด้วยคือหากใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยร้อยละ 91.18 การรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่โดยไม่สั่งใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งที่ท่านปฏิบัติทุกครั้งร้อยละ79.41 และ ควรสั่งใช้ยาสมุนไพรก่อนเสมอ หากผู้ป่วยมาด้วยอาการอุจจาระร่วงไม่รุนแรงร้อยละ 71.76 ตามลำดับ สรุป: ผลการศึกษาพบว่าประชากรมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติอยู่ในระดับดี และขนาดยา ข้อบ่งใช้และข้อควรระวังอยู่ในระดับน้อย และด้านทัศนคติเชิงบวกคือหากใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วย และข้อบ่งใช้ในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนและโรคท้องร่วงเฉียบพลันเป็นทัศนคติเชิงลบ อย่างไรก็ตามผลการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาสื่อเพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลและพัฒนาความรู้ให้มากกว่าร้อยละ 80 และเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกและลดทัศนคติเชิงลบเพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลต่อไป คำสำคัญ: การพัฒนาสื่อ, ยาปฏิชีวนะ, โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน, โรคท้องร่วงเฉียบพลัน, สมุนไพร Background and Objective: Media development is an important role that promotes rational use of antibiotics in upper respiratory tract infections and acute diarrhea using alternative herbal medicines. The purpose of this study was to develop media to promote rational use of antibiotics in upper respiratory tract infections and acute diarrhea using ADDIE model. Methods: Is a descriptive study The population studied is medical personnel who are responsible for prescribing drugs in Buachet Hospital and 8 Tambon Health Promoting Hospitals in Buachet District. Surin Province, 34 persons, collected data by using the knowledge test and attitude questionnaire about rational antibiotic use in upper respiratory tract infections and acute diarrhea using alternative herbal medicines With reliability of 0.90 and 0.75, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics. Result: The population has a good level of knowledge about herbal medicines in the national key drug accounts. Used to relieve sore throat 97.06 percent, herbal medicine in the national key drug account used to relieve cough sputum 91.18 percent and symptoms that should not use herbal medicine for treatment 88.24 percent respectively and the attitude Also, if using antibiotics more than necessary, it will adversely affect 91.18 percent of patients. Treatment of influenza patients without prescribing antibiotics is what you practice every time 79.41 percent should be prescribing herbal remedies first. If the patient comes with mild diarrhea symptoms 71.76% respectively Conclusion: The results showed that the population had knowledge about herbs in the national key drug accounts at a good level and the dosage, indications and precautions were at a low level. And the positive attitude is that if using antibiotics is more than necessary, it will adversely affect patients. And indications for using antibiotics reasonably in upper respiratory tract infections and acute diarrhea as a negative attitude However, the results of this study can be used as a basis for developing media to promote rational use of antibiotics and to develop knowledge to more than 80 percent and enhance positive attitudes and reduce negative attitudes to promote antibiotic use reasonably. Keywords: Development of a media, Antibiotics, Upper respiratory tract infections, Acute diarrhea, Herbal  
Author
585150054-8 Mrs. JARUWAN CHAIYOTA [Main Author]
Pharmaceutical Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference นานาชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0