2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการใช้สารสกัดขมิ้นชันรูปแบบเจลและแสงสีฟ้าในกระบวนการบําบัด โฟโตไดนามิกร่วมกับ การรักษาโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังแบบอนุรักษ์ต่อการต้านเชื้อพรีโวเทลลา อินเตอร์มีเดีย และเชื้อฟิวโซแบคทีเรียม นิวคลีเอตัม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 ธันวาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 15 “บูรณาการงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สํานักวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 
     จังหวัด/รัฐ ปทุมธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 7 ธันวาคม 2562 
     ถึง 8 ธันวาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 15 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 12-22 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ โรคปริทันต์อักเสบเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ส่งผลให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ การรักษาโรคปริทันต์แบบอนุรักษ์ คือการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน ซึ่งมีข้อจำกัดในการรักษาบริเวณร่องลึกปริทันต์ อีกทั้งไม่สามารถกำจัดเชื้อก่อโรคที่แทรกตัวเข้าไปในชั้นเนื้อเยื่อเหงือกได้ ในปัจจุบันได้มีการนำกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกมาใช้เพื่อกําจัดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในร่องเหงือกร่วมกับการรักษาแบบอนุรักษ์ การศึกษานี้ทำเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการรักษาด้วยกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกในการรักษาโรคปริทันต์ โดยศึกษาในอาสาสมัคร 5 คน ที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบและมีร่องลึกปริทันต์ ≥ 4 มิลลิเมตร อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง ในฟันหลังบนทั้ง 2 ด้าน กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์แบบอนุรักษ์ และกลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์แบบอนุรักษ์ร่วมกับกระบวนการบำบัด โฟโตไดนามิกที่มีขมิ้นชันรูปแบบเจลความเข้มข้น 25 ไมโครกรัมต่อมิลลิกรัม กระตุ้นด้วยแสงสีฟ้าจากเครื่องฉายแสงทางทันตกรรมที่ค่าพลังงาน 16.8 จูลต่อตารางเซนติเมตร เป็นเวลา 120 วินาที ติดตามผลการรักษาในสัปดาห์ที่ 1 2 4 และ 6 หลังการรักษา โดยวัดค่าทางคลินิก(ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ ค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ และดัชนีการเลือดออกของเหงือก) และวัดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย F. nucleatum และ P. intermedia ด้วยวิธี real time PCR เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ผลการศึกษาพบว่าเมื่อสิ้นสุดการศึกษาไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ของการรักษาด้วยกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกในอาสาสมัครกลุ่มทดลอง ค่าเฉลี่ยปริมาณของเชื้อแบคทีเรียหลังการรักษาในทุก ๆ ช่วงเวลามีปริมาณน้อยกว่าก่อนการรักษา ส่วนค่าทางคลินิกพบว่ามีเพียงกลุ่มทดลองที่มีค่าร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ และค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ ในสัปดาห์ที่ 1 และ 2 หลังการรักษาของกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนรักษา สรุปว่าการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันร่วมกับกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกสามารถลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียในร่องเหงือกได้ดีกว่าการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันเพียงอย่างเดียว  
ผู้เขียน
605130037-2 น.ส. วีณา รินสาธร [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 11