2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title หัตถกรรมจักสานชนเผ่ากะตู : รูปแบบ ลวดลาย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม 
Date of Distribution 12 July 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ "ศิลปกรรมวิจัย" ครั้งที่ 5 "ศิลปะสร้างโลก" 
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 12 July 2019 
     To 13 July 2019 
Proceeding Paper
     Volume 2562 
     Issue
     Page 567 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษาเรื่อง หัตถกรรมจักสานชนเผ่ากะตู : รูปแบบ ลวดลาย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา เพื่อศึกษา รูปแบบ ลวดลายของเครื่องจักสาน ชนเผ่ากะตู สปป.ลาว ตอนใต้ และเพื่อประยุกต์ใช้ลวดลายจากหัตถกรรมจักสาน ชนเผ่ากะตู สปป.ลาว ตอนใต้ ในการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรมโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ผลการศึกษาพบว่าหัตถกรรมจักสาน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างขึ้นจากความเชื่อ ความศรัทธา ทั้งความเชื่อเรื่องความเป็นอยู่ของคนในชนเผ่า คือ หัตถกรรมจักสานนั้นสามารถบอกรูปแบบสภาพความเป็นอยู่ ยามเจ็บไข้ หรือเป็นเครื่องบอกเหตุ ลาง ต่างๆได้ หัตถกรรมจักสานส่วนใหญ่มีรูปลวดลาย จากสัตว์ต่างๆ ที่สื่อถึงนัยยะแฝงตามความเชื่อ และเป็นสัตว์ในภูมิภาคนั้น จากการประดิษฐ์สร้าง และความบันดาลใจเชิงช่างของผู้จักสานงานหัตถกรรม เช่น ลายงูเหลือม ลายตีนฟาน ลายเมฆ ลายกกไฮ เป็นต้น โดยหัตถกรรมจักสานของชนเผ่ากะตูนั้นมี รูปร่าง รูปทรง ที่มีลักษณะเฉพาะตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่อยู่ในรอบๆ บริเวณที่ราบลุ่มบอละเวน เช่น หวาย ไผ่ มีการถักเก็บขอบที่มีลักษณะเฉพาะ มีฝีมือ และทักษะที่ปราณีต ใช้เทคนิคการรมควันเพื่อให้เกิดสีสันที่มีเอกลักษณ์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการเก็บรักษาเนื้อของวัสดุให้มีความคงทน และการใช้งานที่ยาวนานขึ้น หัตถกรรม จักสานส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงบนความเชื่อของคนในเผ่า ผลจากความเชื่อนั้นทำให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงการมีส่วนร่วมของสังคม และวัฒนธรรม ที่เป็นอันหนึ่งเดียวกันของชนเผ่ากะตู และเป็นธรรมเนียมที่สืบทอด และปฏิบัติร่วมกัน และเกิดเป็นความงามในวิถี ที่เป็นแบบอย่างของชนเผ่ากะตู ได้อย่างมีคุณค่า สรุปผลการประเมิน การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม โดยประเมินหาผลสรุป จาก ผู้ประกอบการ โรงแรม สปา และร้านอาหาร จำนวน 30 คน โดยประเมินหาคุณลักษณะเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยประเมินจากแบบจำลอง ทั้งหมด 3 รูปแบบ จากผลการประเมินสรุปว่า รูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการนำไปผลิตเป็นงานหัตถอุตสาหกรรมประเภทเครื่องเรือน โดยสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้ รูปแบบ มีความเหมาะสมในการสื่อความหมาย และการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย x̄ = 3.93 , ลวดลาย มีการสื่อความหมายถึงชนเผ่ากะตู มีค่าเฉลี่ย x̄ = 3.84 , มีความเป็นลักษณะเฉพาะถิ่น มีค่าเฉลี่ย x̄ = 4.30 , มีความงามและประโยชน์ใช้สอย มีค่าเฉลี่ย x̄ = 3.98 , และวัสดุที่ใช้ผลิต มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย x̄ = 3.89  
Author
607220010-5 Mr. PRATAK KOONTHONG [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0