2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การมีปัญหาของตนเองของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด Studens’ Problem Posing in Classroom using Lesson Study and Open Approach Innovations  
Date of Distribution 27 March 2020 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 
     Organiser บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 27 March 2020 
     To 27 March 2020 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 709-718 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการมีปัญหาของตนเองของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 30 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสตรีชัยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกภาคสนาม แบบสัมภาษณ์นักเรียน เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ เครื่องบันทึกภาพนิ่ง และเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลตามการแบ่งแนวทางการสอนคณิตศาสตร์ออกเป็น 2 ช่วงของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2561) และตามขั้นตอนการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดตามแนวคิดของ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2546) ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ทีมการศึกษาชั้นเรียนได้วิเคราะห์และคาดการณ์พฤติกรรมที่นักเรียนจะแสดงออกให้เห็นว่าเกิดความยุ่งยากหรือความอยากรู้ ในการสังเกตการสอน ช่วงที่ 1 ช่วงของการนำเสนอสถานการณ์ปัญหา ขั้นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด พบว่านักเรียนเกิดความอยากรู้ เห็นได้จากการให้ความสนใจสถานการณ์ปัญหา การตอบคำถาม เสนอแนวคิด และนักเรียนเกิดความยุ่งยาก เห็นได้จากการแสดงสีหน้า น้ำเสียง อภิปราย และพยายามค้นหาสิ่งที่ตนเองอยากรู้ ช่วงที่ 2 ช่วงของการแก้ปัญหา ขั้นนักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการแก้ปัญหา พบว่านักเรียนมีการผ่านความยุ่งยากหรือค้นหาสิ่งที่ต้องการรู้ เห็นได้จากการพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหา แลกเปลี่ยนแนวคิด ตรวจสอบแนวคิดของเพื่อน เพื่อช่วยกันค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา ขั้นอภิปรายและเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน พบว่าครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายประเด็นความยุ่งยาก การผ่านความยุ่งยาก เห็นได้จากการการนำเสนอแนวคิดที่ใช้ในการแก้ปัญหาหน้าชั้นเรียน ครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิด และขั้นสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นของนักเรียน พบว่าครูและนักเรียนมีการสรุปประเด็นความยุ่งยาก การผ่านความยุ่งจาก เห็นได้จากการเชื่อมโยงแนวคิดของทุกกลุ่ม แล้วสรุปเป็นแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ในการสะท้อนผลบทเรียนหลังการสอนร่วมกัน ทีมการศึกษาชั้นเรียนสะท้อนในพฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงให้เห็นว่าเกิดความยุ่งยาก หรืออยากรู้ และผ่านความยุ่งยากหรือค้นหาสิ่งที่ต้องการรู้ด้วยตนเอง  
Author
595050003-3 Miss NOPPASORN BOONSENA [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum