2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อดื้อยา Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 มีนาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ระบบ online 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 มีนาคม 2563 
     ถึง 27 มีนาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2020 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 244-257 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การใส่ท่อช่วยหายใจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบที่จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator-associated pneumonia: VAP) และติดเชื้อดื้อยา Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE)โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ยังไม่มีแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อดื้อยา CRE และมีอุบัติการณ์ติดเชื้อ CREในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้นต่อเนื่องการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อดื้อยา CRE ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ (WHAPO-CRE CNPG) และ 2) ประเมินความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อดื้อยาCREดำเนินการศึกษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาระหว่างเดือนธันวาคม 2561-พฤศจิกายน 2562 แนวปฏิบัติ WHAPO-CRE CNPGพัฒนาโดยใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ (Soukup, 2000) เป็นกรอบแนวคิด โดยการศึกษานี้ได้นำระยะที่ 1-3มาใช้ ในระยะที่ 3 คือการนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 43 คนและ 2) ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 56 คน ผลการศึกษา พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) WHAPO bundle สำหรับป้องกันการเกิด VAP และ2) CRE Care bundle เพื่อป้องกันการติดเชื้อ CREภายหลังการทดลองใช้แนวปฏิบัติพบว่าอุบัติการณ์การเกิด VAP-CRE ภายใน 4 วันแรก เท่ากับ 0 ครั้ง/1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ และ ภายใน 7 วันแรกเท่ากับ 1 ครั้ง/1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ในระดับสูง (ร้อยละ 82.32) แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อดื้อยาCRE ที่ได้พัฒนาขึ้นอาจจะสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อดื้อยา CRE ได้ ถ้ามีการพัฒนาและปรับปรุงเพิ่มเติมต่อไป 
ผู้เขียน
605060043-6 น.ส. สุภาพร ศรีพนม [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0