2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ฟ้อนผ้าหางเมืองสกลนคร Fon Pha Hang of Sakon Nakhon  
Date of Distribution 12 July 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่5 “ศิลปะสร้างโลก” Arts Create the World 
     Organiser ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนแวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 12 July 2019 
     To 13 July 2019 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 890-898 
     Editors/edition/publisher
     Abstract ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประเพณี สังคมและวัฒนธรรมชุมชนเกษตรกรรมและธรรมชาติภายใต้แนวคิดคติทางพระพุทธศาสนาผสมผสานเข้ากับความเชื่อดั้งเดิม ผี ไท้ แถน และธรรมชาติในท้องถิ่นของคนอีสานในอดีต ก่อให้เกิดข้อปฏิบัติที่ตกผลึกเป็นกิจกรรมหมุนเวียนไปในแต่ละเดือนในรอบปี กิจกรรมหมุนเวียนไปในแต่ละเดือนในรอบปี นั้นเข้าทางพระพุทธศาสนาเป็นหลัก เรียกว่า “ฮีตสิบสอง” ตามการนับเดือนเป็นแบบจันทรคติ วัฒนธรรมประเพณีในฮีตสิบสอง ของแต่ละท้องถิ่นมักให้ความสำคัญในแต่ละเดือนที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพความเป็นอยู่ ภูมิประเทศและจำนวนทรัพยากรในท้องถิ่นนั้น ๆ นอกจากประเพณีตามที่กล่าวมานั้น ยังแยกย่อยออกเป็นพิธีกรรมของท้องถิ่น บุญผเวสสันดรหรือบุญเทศน์มหาชาติ จัดเป็นบุญสำคัญของชาวอีสานที่นับถือพระพุทธศาสนา จัดขึ้นในช่วงเดือนสี่ กล่าวกันว่า เวสสันดรชาดก เป็นการบำเพ็ญทานบารมีที่ยิ่งใหญ่และเป็นพระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า จึงมีการยกเอาชาดกเรื่องนี้มาแสดง เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการบำเพ็ญทานและอนุเคราะห์ต่อผู้อื่น ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของชาวอีสานที่อยู่ในลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วงเหลืออนุเคราะห์แก่กันและกัน เรื่องราวชาดกนี้ในแต่ละท้องถิ่นได้ยกให้เป็นหนึ่งในประเพณีสำคัญของท้องถิ่นนั้น ๆ เกิดเป็น การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและการเล่นในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การเล่นผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ผีโขน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร การเล่นฟ้อนผ้าหาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร การฟ้อนผ้าหาง เป็นการเล่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย้อที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่าสกลนคร โดยเฉพาะชุมชนวัดแจ้ง (วัดแจ้งแสงอรุณ) ในอดีตเป็นการเล่นที่ใช่เล่นในงานบุญเดือนสี่หรือบุญผเวสสันดร ซึ่งจะมีการแห่พระอุปคุตและแห่พระเวสสันดรและแห่กัณฑ์หลอนเพื่อการรับบริจาค โดยการเล่นฟ้อนผ้าหางคุ้มวัดแจ้งนี้เองจึงเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์คิดค้นขึ้น เพื่อประกอบขบวนเนื่องในงานบุญผเวสสันดรช่วงเดือนสี่ เท่านั้น ต่อมีได้มีพัฒนาการขึ้นเป็นลำดับสู่งานแห่ปราสาทผึ้ง โดยในระยะแรกเป็นการนุ่งผ้าหยักรั้งไว้ทิ่งชายม้วนผ้าจากจากกระเบนเหน็บนำปลายผ้ามามัดเข้ากันกับปลายผ้าของอีกคน แล้วแสดงท่าทางต่าง ๆ ตามจังหวะดนตรี ประกอบด้วย กลองตุ้ม ผางฮาด ฉาบ ฆ้องโหม่งและแคน โดยปัจจุบันนี้การแสดงนี้กำลังจะเลือนลางจางหายไปตามสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง ยังคงเหลือผู้เคยร่วมเป็นนักแสดงรุ่นสุดท้ายเพียงไม่กี่คนที่พอบอกเล่าความเป็นมาและจังหวะลีลาได้ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากการศึกษาเรื่องสังคมศิลปวัฒนธรรม มีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะนอกจากเป็นการเสริมสร้างให้บุคคลมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่แล้ว ยังช่วยให้บุคคลอื่นมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่กำลังจะเลือนหายไปจากท้องถิ่นอย่างถูกต้อง และนำไปสู่การพัฒนาและสรรค์สร้างให้เกิดการธำรงรักษาไว้ซึ่งสารัตถะทางความคิดของบรรพบุรุษเมืองสกลนคร ที่มีต่อความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและก่อเกิดเป็นการเล่นในชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ 
Author
605220013-5 Mr. KITSADAKRON BANLUE [Main Author]
Fine and Applied Arts Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0