ชื่อบทความ |
การแสดงความหมายของการใช้ถ้อยคำเขียนคำฟ้อง
และคำให้การในคดีทางการแพทย์ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
20 เมษายน 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
มนุษย์กับสังคม |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคม |
ISBN/ISSN |
2286-6779 |
ปีที่ |
6 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
กรกฎาคม 2563 - ธันวาคม 2563 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแสดงความหมายของการใช้ถ้อยคำเขียนคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยในคดีทางการแพทย์ตามแนวทางทฤษฎีการประเมินค่า (Appraisal Theory) ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือคดีทางการแพทย์ (ขวัญชัย โชติพันธุ์: 2558) ที่ได้รวบรวมตัวอย่างคดีที่ศาลปกครองมีคำวินิจฉัยเสร็จสิ้น ซึ่งผู้วิจัยเลือกศึกษาเฉพาะคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยในคดีเดียวกันเฉพาะคดีผู้บริโภคเท่านั้น ซึ่งล้วนเป็นคดีที่มีการฟ้องร้องจริงทั้งสิ้น ผู้เขียนได้ใช้ชื่อสมมติแทนชื่อจริงของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละคดี เพื่อไม่ให้กระทบต่อชื่อเสียงของผู้ใด ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากคำฟ้อง 5 คดี รวมจำนวน 20 หน้า และคำให้การ 5 คดี รวมจำนวน 22 หน้า รวมข้อมูลทั้งคำฟ้องและคำให้การทั้งสิ้น 42 หน้า
ผลการศึกษาพบว่า การแสดงความหมายของการใช้ถ้อยคำเขียนคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยในคดีทางการแพทย์ มีการแสดงความหมายหลัก 3 ประเด็น ได้แก่ การแสดงความหมายของทัศนคติ การแสดงความหมายของการบอกระดับ และการแสดงความหมายของการผูกมัด การศึกษาครั้งนี้พบว่า 1) การแสดงความหมายของทัศนคติ โจทก์และจำเลยจะใช้ถ้อยคำแสดงทัศนคติทั้งทางบวกและทางลบในการเขียนคำฟ้องและคำให้การในคดีทางการแพทย์ 2) การแสดง
ความหมายของการบอกระดับ มี 2 ส่วนประกอบคือ ส่วนที่ช่วยปรับระดับของความหมายให้เพิ่มขึ้น และส่วนที่ช่วยปรับระดับของความหมายให้ลดลง 3) การแสดงความหมายของการผูกมัด มีการใช้ถ้อยคำแสดงการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาข้อมูลที่แสดงความหมายของการจำกัดความและการขยายความ |
คำสำคัญ |
การแสดงความหมายของถ้อยคำ คำฟ้อง คำให้การ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|