ชื่อบทความ |
แนวทางการป้องกันและจัดการความรุนแรงที่เหมาะสมในโรงพยาบาล โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
20 เมษายน 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
เชียงใหม่เวชสาร |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
|
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
เม.ย.-มิ.ย. |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์ ความรุนแรงในสถานที่ทำงานเป็นปัญหาทางสุขภาพระดับสากลโดยเฉพาะในกลุ่มบุคลากรสุขภาพ การศึกษาส่วนใหญ่เน้นศึกษาในด้านความชุกและปัจจัยเสี่ยงของความรุนแรง และแนวทางปฏิบัติหลัก ๆ มักมุ่งเน้นไปที่ด้านอุปกรณ์หรือมาตรการต่าง ๆ แนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อาจยังไม่เหมาะสมกับบริบทปัจจุบัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประยุกต์รูปแบบวิธีการของระบบในการป้องกันและจัดการความรุนแรงในโรงพยาบาลให้สามารถปฏิบัติได้จริง โดยเฉพาะบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดความรุนแรง ได้แก่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
วัสดุและวิธีการ การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยใช้การสนทนากลุ่ม การสังเกต แบบสอบถาม และเอกสารรายงานที่เกี่ยวข้องในการเก็บข้อมูล กลุ่มเป้าหมายครอบคลุมผู้บริหารโรงพยาบาลและบุคลากรสุขภาพ ทั้งหมดจำนวน 64 คน และผู้วิจัย การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานวิเคราะห์เหตุการณ์ความรุนแรงของการให้บริการของห้องตรวจผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และพัฒนาแนวทางป้องกันและจัดการความรุนแรงโดยประยุกต์ร่วมกับแนวทางสากล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่
ผลการศึกษา ลักษณะความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นความรุนแรงทางวาจามากกว่าลักษณะอื่น (ร้อยละ 34.9) บุคลากรที่ปฏิบัติงานเป็นสหสาขาวิชาชีพและสังกัดหลายหน่วยงาน การตอบสนองต่อความรุนแรงขึ้นกับประสบการณ์แต่ละบุคคล องค์กรมีมาตรการในการสร้างความปลอดภัยแก่บุคลากรบางส่วน มีการติดตั้งกล้องวรจรปิดแต่ยังไม่ครอบคลุมทุกจุด การจัดฝึกอบรมยังไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอสำหรับทักษะด้านอารมณ์และดำเนินการไม่สม่ำเสมอ การรับรู้ต่อมาตรการที่ดำเนินการอยู่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 66.6 จากข้อมูลสรุปเป็นแนวทางที่ดำเนินการเพื่อลดข้อจำกัดในมาตรการดังกล่าว ภายหลังการนำแนวทางมาใช้จริง ได้ข้อสะท้อนในการสื่อสารนโยบายในองค์กรให้ชัดเจนมากขึ้น
สรุปผลการศึกษา โรงพยาบาลควรมีนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินการแนวทางป้องกันและจัดการความรุนแรง ได้แก่ การประกาศนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร การดำเนินแผนและกิจกรรมที่เสริมมาตรการเชิงกายภาพและเชิงคุณภาพพร้อมกำหนดโครงสร้างผู้รับผิดชอบ รวมทั้งการพัฒนาด้านสื่อสารและระบบการตอบสนองเหตุการณ์ความรุนแรงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ |
คำสำคัญ |
ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน แนวทาง บุคลากรสุขภาพ การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|