2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสืบทอดภาษาผู้ไทของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม (Phu Thai Language Transmission in Phu Thai Ethnic Group in Renu Nakhon District, Nakhon Phanom Province) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 6 ตุลาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม the International Conference Commemorating the 60th Anniversary of Korea-Thailand Diplomatic Relations 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม Korean Association of Thai Studies 
     สถานที่จัดประชุม International Conference Room, Obama Hall. Hankuk University of Foreign Studies Seoul Campus (HUFS) 
     จังหวัด/รัฐ Seoul, korea 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 5 ตุลาคม 2561 
     ถึง 6 ตุลาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 273-283 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสืบทอดภาษาผู้ไทของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Information) แบบเจาะจง ประกอบด้วยกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวัยกลางคน กลุ่มเด็กและเยาวชน และกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน ใช้การสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) การศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม มีการสืบทอดภาษาทั้งภายในครอบครัวและภายนอกครอบครัว การสืบทอดภาษาภายในครอบครัวเป็นการสืบทอดภาษาที่ไม่มีแบบแผน แต่เป็นลักษณะการใช้ภาษาผู้ไทเพื่อใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันเท่านั้น ซึ่งเริ่มจากผู้อาวุโสได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่เป็นภาษาผู้ไท เกิดการเรียนรู้และซึมซับการใช้ภาษาผู้ไท แล้วถ่ายทอดการใช้ภาษาผู้ไทผ่านการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนลูกหลานของตน ขณะเดียวกันกลุ่มวัยกลางคนก็เรียนรู้และซึมซับการใช้ภาษาผู้ไทจาก ผู้อาวุโสในครอบครัวแล้วนำภาษาผู้ไทมาเลี้ยงดูและอบรมส่งสอนลูก พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ลูกหลาน เกิดการเรียนรู้และจดจำการใช้ภาษาไปโดยธรรมชาติ และเป็นการปลูกฝังการใช้ภาษาผู้ไทไปในตัวด้วย การสืบทอดภาษาผู้ไทที่เกิดขึ้นภายนอกครอบครัว พบ 2 รูปแบบ คือ การสืบทอดภาษาผู้ไทที่ไม่มีแบบแผน เป็นลักษณะการใช้ภาษาผู้ไทเพื่อใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันของกลุ่มเพื่อน และสมาชิกในชุมชน เช่น การใช้ภาษาผู้ไทในงานบุญประเพณีและบุญประจำปีของชุมชน โฆษกหรือพิธีกร พระสงฆ์ และผู้นำชุมชนใช้ภาษาผู้ไทในการดำเนินกิจกรรม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ของผู้นำชุมชนผ่านหอกระจายข่าวในชุมชน ส่วนการสืบทอดภาษาผู้ไทในชุมชนที่มีแบบแผน เป็นลักษณะการสืบทอดภาษาผู้ไทที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนมีหลักสูตรท้องถิ่นที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมผู้ไท ได้รับรู้เรื่องราวของท้องถิ่น เกิดความตระหนัก เห็นคุณค่า สำนึกรักท้องถิ่น และเกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ The purpose of this research is to study the Phu Thai language transmission in Phu Thai ethnic group in Renu Nakhon district, Nakhon Phanom province. The key informants are five elderly people, five middle-aged people, five children and teenagers and five local sages. The main method that was used to conduct the research was in-depth interview. The group was selected by purposive sampling and descriptive analysis. The results of the study show that in Phu Thai ethnic group in Renu Nakhon district, Nakhon Phanom Province transmission of language occurs both within the family and outside of the family. Language transmission within the family is non-formal. Language is passed on from one generation to the next in a family. Language users use Phu Thai language to communicate in daily life. The elderly were taught Phu Thai language by their parents. They learned and absorbed it naturally. At the same time, middle-aged users learned and absorbed Phu Thai language from the elders and both these groups teach the children and teenagers in their families through non-formal everyday use of the language. Language is transmitted from generation to generation. This pattern makes children learn and remember the use of natural language and that is the way Phu Thai language transmission happens. Phu Thai language transmission that occurs outside the family has two forms. The first one is non-formal transmission. It occurs during everyday communication between community members, during traditional celebrations and merit-making. A spokesperson, priests and community leaders use Phu Thai language when they conduct their duties, including public communication between the leaders of the towns, announcements, etc. The second form of Phu Thai language transmission that occurs outside the family is formal. It occurs at schools and the learning process is conducted according to the local curriculum. It encourages students to learn Phu Thai language as well as their own culture. The main goal is to build awareness, appreciation, love and pride of their ancestors, local culture and tradition  
ผู้เขียน
605080040-0 นาย ณัฐพล ชารีรักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0