ชื่อบทความ |
ทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนรัฐจัดตั้งบนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
1 พฤษภาคม 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
|
ฉบับที่ |
|
เดือน |
|
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทความนี้มุ่งศึกษาทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนรัฐจัดตั้งบนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีชุมชนไทยร่มเย็น (นามสมมติ) ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเงื่อนไขและบริบทในการเลือกใช้ทุนทางสังคมในปฏิบัติการของชุมชน ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพตามแนวทางปรากฏการณ์วิทยาร่วมกับการวิเคราะห์ประวัติชีวิตครัวเรือน โดยการสัมภาษณ์ผู้รู้ในชุมชน ตัวแทนครัวเรือนที่อพยพเข้ามารับการจัดสรรที่ดินกับนิคมสร้างตนเองบ้านกรวดตั้งแต่ยุคเริ่มต้น การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ชาวชุมชนได้เลือกใช้ทุนทางสังคมในการอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ อาทิ การเป็นเครือญาติและคนบ้านเดียวกัน เพื่อช่วยส่งข่าวประกาศรวมถึงการตัดสินใจอพยพเข้ามารับการจัดสรรที่ดินของนิคมสร้างตนเอง และในยุคการจัดหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-กัมพูชา ชุมชนได้เลือกใช้ทุนทางสังคมที่เกิดจากการสร้างเครือข่ายทางสังคมแบบใหม่กับคนกลุ่มอื่นๆ บนอาณาบริเวณชายแดน อาทิ เครือข่ายทางสังคมด้านการปกครองและการป้องกันชุมชน เครือข่ายทางสังคมจากการแต่งงาน เพื่อยึดโยงความสามัคคีและช่วยเหลือกัน นอกจากนี้ เครือข่ายทางสังคมยังเป็นทุนที่สำคัญในการต่อรองจนได้มาซึ่งสิทธิ์ต่างๆ อาทิ การเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเอง การเข้าเป็นสมาชิกของหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-กัมพูชา การได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ตลอดจนการได้เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ ผลการวิจัยจึงสะท้อนถึงการเลือกใช้ทุนทางสังคมในเงื่อนไขและบริบทที่ต่างกัน |
คำสำคัญ |
ทุนทางสังคม ปฏิบัติการ ชุมชนชายแดนรัฐจัดตั้ง ชายแดนไทย-กัมพูชา |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|