2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า "ฮอด" ในภาษาไทยถิ่นอีสาน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 เมษายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ภาษาและภาษาศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
     ISBN/ISSN ISSN 0857-1406 (Print) ISSN 2672-9881 (Online) 
     ปีที่ 38 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นลักษณะของคำในภาษาไทยถิ่นอีสานที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และความหมาย โดยมุ่งศึกษาคำว่า “ฮอด” ซึ่งมีลักษณะการกลายจากคำบอกเนื้อหาไปเป็นคำไวยากรณ์เมื่อปรากฏในปริบทที่ต่างกัน ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้รวบรวมจากเอกสาร ฐานข้อมูลออนไลน์ และภาษาไทยถิ่นอีสานที่ใช้สนทนาในชีวิตประจำวัน สมัยรัชกาลที่ 9 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2489 - 2563) ผลการศึกษาหมวดคำ หน้าที่ทางไวยากรณ์ และความหมายของคำว่า “ฮอด” ในภาษาไทยถิ่นอีสานพบว่า คำว่า “ฮอด” ปรากฏในหมวดคำกริยา คำบุพบท และคำเชื่อมอนุพากย์ ด้านความหมายของคำว่า “ฮอด” แบ่งตามหมวดคำ ได้แก่ 1. หมวดคำกริยา มีความหมายย่อย 2 ความหมาย คือ 1) การบรรลุจุดหมายที่เป็นรูปธรรม 2) การบรรลุจุดหมายที่เป็นนามธรรม 2. หมวดคำบุพบท มีความหมายย่อย 2 ความหมาย คือ 1) แสดงจุดหมายของสถานที่และเวลา 2) แสดงจุดหมายที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต 3. หมวดคำเชื่อมอนุพากย์ มีความหมายย่อย 3 ความหมาย คือ 1) แสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ 2) แสดงจุดต่อเนื่องของการกระทำหรือระยะเวลา 3) แสดงความเป็นเหตุเป็นผล ด้านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “ฮอด” ในภาษาไทยถิ่นอีสาน พบการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ดังนี้ 1. กระบวนการกลายจากคำกริยาไปเป็นคำบุพบท แบ่งเป็น 1.1 กระบวนการทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ใหม่ 2) การนำคำไปใช้ในปริบทใหม่ 3) การสูญลักษณะของหมวดคำเดิม 1.2 กระบวนการทางความหมาย ได้แก่ 1) ความหมายเดิมจางลง 2) การคงเค้าความหมายเดิม 3) การเกิดความหมายทั่วไป 2. กระบวนการกลายจากคำกริยาไปเป็นคำเชื่อมอนุพากย์ แบ่งเป็น 2.1 กระบวนการทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ 1) การบังคับการปรากฏ 2) การสูญลักษณะของหมวดคำเดิม 2.2 กระบวนการทางความหมาย ได้แก่ การเกิดความหมายทั่วไป  
     คำสำคัญ การกลายเป็นคำไวยากรณ์ คำกริยา ภาษาไทยถิ่นอีสาน การศึกษาภาษาเฉพาะสมัย  
ผู้เขียน
607080020-0 น.ส. สุมาลี พลขุนทรัพย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum