2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและงานบริหารสัมพันธ์ ประจำปี 2563 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) 
     สถานที่จัดประชุม ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 7 กุมภาพันธ์ 2563 
     ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 323-335 
     Editors/edition/publisher รศ.ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงบรรยายโดยมีการดําเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1)ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์จำนวน 16 เรื่องเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์และศึกษาจากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ยืนยันองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสารโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การประสานความร่วมมือ ผสานทักษะและสร้างสรรค์ผลงาน 2) สัมพันธภาพภายในองค์การ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ในองค์การระหว่างบุคคล การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล 3) บรรยากาศขององค์การ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ โครงสร้างองค์การ การสื่อสารในองค์การ ทัศนคติเชิงบวก 4 )ค่านิยมในการทำงาน ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความมีอิสระในการทำงาน การบรรลุผลสำเร็จ ความหลากหลายของทักษะที่ใช้ในการทำงาน 5) แรงจูงใจในการทำงาน ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การให้ผลประโยชน์ การใช้พลังเชิงบวก ซึ่งได้จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์จำนวน 16 เรื่องและยึดแนวคิดของนักวิชาการ ได้แก่ Cook&Lafferty (1989), Winsor (2006), Bryan (2009), Jonathan Feinstein (2011),วิจารณ์ พานิช (2550) และธนัญญา ดวงธนู (2561) เป็นหลัก  
ผู้เขียน
615050042-5 น.ส. จารุวรรณ มุทาพร [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล ชนะเลิศบทความประเภท "ORAL PRESENTATION" 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 7 กุมภาพันธ์ 2563 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum