2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ องค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและงานบริหารสัมพันธ์ ประจำปี 2563 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) 
     สถานที่จัดประชุม ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 7 กุมภาพันธ์ 2563 
     ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 198-211 
     Editors/edition/publisher รศ.ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง 
     บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมี โดยมีการดําเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 16 เรื่อง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบร่วมพลังจากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ยืนยันองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบร่วมพลังตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสารโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน ผลการวิจัย ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความไว้วางใจ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ สมรรถนะ คุณงามความดี และความน่าเชื่อถือ 2) ความผูกพันต่อองค์การ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ ความผูกพันเชิงจิตพิสัย ความผูกพันเชิงต่อเนื่อง และความผูกพันเชิงปทัสถาน 3)วิสัยทัศน์ร่วม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ การสร้าง วิสัยทัศน์ร่วม การเผยแพร่วิสัยทัศน์ร่วม และการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ร่วม 4) การตัดสินใจร่วม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ ทางเลือกร่วมกัน สารสนเทศในการตัดสินใจ และเป้าประสงค์ในการตัดสินใจ และ5) การจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ การยอมรับความเสี่ยง การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และการกระจายความเสี่ยง  
ผู้เขียน
615050052-2 นาง ปารณีย์ สุทธิประภา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum