2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ คุณภาพของชุดเครื่องมือประเมินความเป็นนวัตกรสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (THE QUALITIES OF ASSESSMENT TOOL OF INNOVATOR FOR SENIOR HIGH)  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การวัดผล ประเมินผล และวิจัยสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมวังจันทร์ ริเวอร์วิว จังหวัดพิษณุโลก 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กุมภาพันธ์ 2563 
     ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 146-170 
     Editors/edition/publisher สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดความเป็นนวัตกรของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (2) สร้างชุดเครื่องมือประเมินความเป็นนวัตกรของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ (3) ตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือประเมินที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีการแบบผสมผสานวิธี โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ครูกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับรางวัลเกี่ยวกับการแข่งขันประกวดผลงานนวัตกรรม การทดลองใช้ชุดเครื่องมือกับกลุ่มเป้าหมายนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 90 คน การตรวจสอบคุณภาพชุดเครื่องมือใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม ได้แก่ ความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยง ความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสรุปข้อมูลแบบอุปนัย (Analytic Induction) ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) องค์ประกอบของความเป็นนวัตกรสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การรู้เรื่องนวัตกรรม 4 ตัวชี้วัด ทักษะกระบวนการพัฒนานวัตกรรม 5 ตัวชี้วัด และลักษณะนิสัยของนวัตกร 4 ตัวชี้วัด (2) ชุดเครื่องมือประเมินความเป็นนวัตกร ประกอบด้วย แบบทดสอบการรู้เรื่องนวัตกรรมเป็นแบบทดสอบเชิงสถานการณ์ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก แบบประเมินทักษะกระบวนการพัฒนานวัตกรรมเป็นแบบประเมินเชิงสถานการณ์โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค และแบบวัดลักษณะนิสัยของนวัตกร เป็นแบบประเมินตนเองใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ (3) คุณภาพของชุดเครื่องมือประเมินความเป็นนวัตกรสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่าแบบทดสอบการรู้เรื่องนวัตกรรม มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.81 ค่าความยากง่าย มีค่าระหว่าง .11 - .64, และค่าอำนาจจำแนก มีค่าระหว่าง -.19 - .71 มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.41 แบบประเมินทักษะกระบวนการพัฒนานวัตกรรม มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.96 ค่าความยากง่าย มีค่าระหว่าง 0.10 - 0.93 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.00 – 0.90 มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง (Cronbach’s Alpha) 0.877 แบบวัดลักษณะนิสัยของนวัตกร มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 1.00 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.00 - 0.09 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.89 คำสำคัญ: นวัตกร / การรู้เรื่องนวัตกรรม / ทักษะกระบวนการพัฒนานวัตกรรม / ลักษณะนิสัยของนวัตกร นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Abstract The purposes of the research consist of 1) To study innovator of senior high school students factors and indicators, 2) To create the assessment tool of innovator for senior high school students and 3) To check the developed assessment tool. For this research use mixed methods as methodology, firstly, has reviewed innovator’s document, then interviewed teachers and students who was won the innovation award that include science projects and robot for senior high school students level, finally conclude these data to create the assessment tool as analytic induction. The result of the research as follow : 1) The 3 factors of Innovator consists of– innovative literacy, innovative development process skill and innovator characteristics and each factor consists of 4, 5 and 4 indicators respectively. 2) Innovative Literacy and Innovative Development Skill Process were measure by situation ,scores were dichotomous, and polytomous respectively, but Innovator Characteristic students were evaluate by themselves by rating scale. 3) The qualities of assessment tool of innovator for senior high school students as follow : Innovative Literacy were content validity ratio (CVRi) 0.50 – 1.00, content validity Index (CVI) 0.81, difficulty .11 - .64, discrimination -.19 - .71, and reliability (Cronbach’s Alpha) .410. Innovative Development Process Skill were content validity ratio (CVRi) 0.50 – 1.00, content validity Index (CVI) 0.96, difficulty .10 - .93 and discrimination .00 - .90 and reliability (Cronbach’s Alpha) .877. Innovator Characteristic were content validity ratio (CVRi) 0.50 – 1.00, content validity Index (CVI) 1.00, discrimination .000 – .090 and reliability (Cronbach’s Alpha) .892. Keywords: Innovator / Innovative Literacy / Innovative Development Skill Process / Innovator Characteristic 
ผู้เขียน
615050094-6 น.ส. คนึงนิตย์ ทนทาน [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0