ชื่อบทความ |
การพัฒนาอัตลักษณ์ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า : กรณีศึกษาบานาน่ามอส จังหวัดมหาสารคาม
The Development of Identity and Packaging Design for Products of Cultivated Banana : A Case Study of Bananamos , Mahasarakham Province |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
1 มิถุนายน 2563 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัยการออกแบบแห่งเอเชีย (Jaders e-journal) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
2651-1185 |
ปีที่ |
3 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2563 |
หน้า |
27-42 |
บทคัดย่อ |
บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า กรณีศึกษาบานาน่ามอส โดยใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาตราสินค้าเดิมให้ดีขึ้น มีการดำเนินงานลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นของตราสินค้าในด้านผลิตภัณฑ์และด้านการออกแบบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าตราสินค้าบานาน่ามอส มีผลิตภัณฑ์แปรรูปที่หลากหลาย โดยมีจุดเด่นคือกล้วยตากเสียบตอก โดยได้รับการสนับสนุนการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากภาครัฐ ส่วนผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ จะอยู่ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด ไม่สามารถสร้างการจดจำในกลุ่มผู้บริโภคได้ ด้านบรรจุภัณฑ์ต้องการปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจในรูปแบบของฝาก กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ในครั้งนี้เป็นการนำเรขศิลป์และบรรจุภัณฑ์กล้วยตากเสียบตอกมาพัฒนาต่อยอดให้กับกับบรรจุภัณฑ์สินค้าอื่นๆ รวมถึงนำไปใช้กับการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายเพื่อให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ของตราสินค้า โดยการออกแบบเลือกใช้สีที่สื่อถึงกล้วยและความเป็นธรรมชาติ ได้แก่ สีเหลือง เขียว และน้ำตาล รวมถึงเรขศิลป์รูปกล้วยและใบตอง |
คำสำคัญ |
การออกแบบอัตลักษณ์กล้วย, แบรนด์กล้วย, สินค้ากล้วยแปรรูป, อัตลักษณ์บรรจุภัณฑ์, อัตลักษณ์องค์กร |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|