2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การดูดซับและการย่อยสลายสารไตรโคลคาร์บานทางชีวภาพด้วยไบโอชาร์และไบโอชาร์ตรึงเซลล์ที่ผลิตจากไม้ไผ่และยูคาลิปตัส 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 พฤษภาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN 1906-392X 
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อกำจัดสารไตรโคลคาร์บาน (Triclocarban; TCC) ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ตกค้างในน้ำด้วยวัสดุเหลือทิ้ง จากการผลิตน้ำส้มควันไม้ วัสดุดังกล่าว ได้แก่ ไบโอชาร์ที่ผลิตจากไม้ไผ่และไม้ยูคาลิปตัส การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการใช้งานไบโอชาร์เพื่อเป็นวัสดุดูดซับและตรึงจุลินทรีย์สำหรับการกำจัด TCC ตกค้างในน้ำ โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ Pseudomonas fluorescens MC46 การทดลองประกอบด้วยการศึกษา 1) คุณสมบัติของไบโอชาร์ 2) ประสิทธิภาพและจลนศาสตร์การกำจัด TCC 3) การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บนไบโอชาร์ และ 4) ลักษณะสัณฐานของไบโอชาร์และไบโอชาร์ตรึงเซลล์ ผลการศึกษาพบว่าไบโอชาร์ทั้งสองมีองค์ประกอบหลักเป็นธาตุคาร์บอน (ร้อยละ 45-52 โดยน้ำหนัก) มีพื้นที่ผิวจำเพาะ 25-27 ตารางเมตรต่อกรัม และลักษณะสัณฐานวิทยาเป็นวัสดุพรุน ส่วนไบโอชาร์ตรึงเซลล์พบจุลินทรีย์เกาะกระจายทั่วพื้นผิววัสดุ ไบโอชาร์และไบโอชาร์ตรึงเซลล์สามารถกำจัด TCC ได้ใกล้เคียงกัน (ร้อยละ72-78) ในขณะที่เซลล์อิสระย่อยสลาย TCC ได้ร้อยละ 42 อย่างไรก็ตามในระยะยาวไบโอชาร์ตรึงเซลล์มีแนวโน้มที่มีประสิทธิภาพการบำบัดโดยภาพรวมดีกว่า เนื่องจากสามารถเกิดได้ทั้งกระบวนการย่อยสลายสารพิษด้วยเซลล์และการดูดซับด้วยวัสดุพรุน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าไบโอชาร์จากวัสดุเหลือทิ้งเป็นวัสดุดูดซับที่ดีและยังสามารถตรึงจุลินทรีย์เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพได้ รวมทั้งยังสามารถป้องกันจุลินทรีย์จากการลดโอกาสสัมผัส TCC ได้ ผลการศึกษานี้สามารถเป็นแนวทางในการใช้ไบโอชาร์ตรึงเซลล์เพื่อการกำจัดสารปนเปื้อนด้วยกระบวนการดูดซับร่วมกับการย่อยสลายทางชีวภาพได้ต่อไป 
     คำสำคัญ การตรึงเซลล์ การย่อยสลายทางชีวภาพ ไตรโคลคาร์บาน ไบโอชาร์ 
ผู้เขียน
615040086-1 น.ส. สุพิชญา เจนใจวิทย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ
587040015-5 นาย พงศธร ทวีธนวาณิชย์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0