Research Title |
The Development of Geographic Skills and Academic Achievement with Learning Management Using the 5-Step Ladder Paradigm (QSCCS) in Conjunction Including the GPS Tools Application Social Studies 22103 for Grade 8 Students |
Date of Distribution |
25 May 2020 |
Conference |
Title of the Conference |
11th National and International Conference on Humanities and Social Sciences |
Organiser |
Phranakhon Rajabhat University |
Conference Place |
Phranakhon Rajabhat University |
Province/State |
Bangkok, Thailand |
Conference Date |
25 May 2020 |
To |
26 May 2020 |
Proceeding Paper |
Volume |
2020 |
Issue |
1 |
Page |
61-67 |
Editors/edition/publisher |
Attapol Kuanliang |
Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนทัศน์บันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับแอปพลิเคชัน GPS Tools รายวิชาสังคมศึกษา ส 22103 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยนักเรียนมีคะแนนทักษะทางภูมิศาสตร์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนทัศน์บันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับแอปพลิเคชัน GPS Tools รายวิชาสังคมศึกษา ส 22103 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตะโกโคก อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 15 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ ดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน จำนวน 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติ ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ คือ แบบทดสอบวัดทักษะทางภูมิศาสตร์จำนวน 30 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ การหาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนทัศน์บันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับแอปพลิเคชัน GPS Tools รายวิชาสังคมศึกษา ส 22103 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะทางภูมิศาสตร์โดยเฉลี่ย 22.40 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 12 คน จากนักเรียนทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 80 และ 2) ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนทัศน์บันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับแอปพลิเคชัน GPS Tools รายวิชาสังคมศึกษา ส 22103 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยเฉลี่ย 21.00 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 70.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีคะแนนแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ จำนวน 11 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 77.33 |
Author |
|
Peer Review Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
นานาชาติ |
Type of Proceeding |
Abstract |
Type of Presentation |
Oral |
Part of thesis |
true |
Presentation awarding |
false |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|